การรำวงซึ่งแสดงถึงวิถีไทยอย่างไรบ้าง  สร้างคำถาม

 2,345 view  หมวดหมู่ : การศึกษา ประวัติศาสตร์  วันที่สร้าง : 13/07/2012

การรำวงซึ่งแสดงถึงวิถีไทยอย่างไรบ้าง

รำวง (Ramwong) เป็นการละเล่นของชาวบ้านที่ร่วมเล่นกันเพื่อความสนุกสนานและความสามัคคี แต่เดิมเรียกว่า “รำโทน” เนื่องจากใช้โทนตีประกอบจังหวะในการรำ ต่อมาเพิ่มกรับและ ฉิ่ง แต่ยังไม่มีการขับร้องประกอบในการรำ คงรำไปตามจังหวะโทนอย่างเดียว ลักษณะการรำโทนรำเป็นคู่ ๆ เดินเป็นวงกลม ใช้ท่ารำง่าย ๆ สุดแท้แต่ใครจะรำหรือทำท่าใด ไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ ขอเพียงแต่ย่ำเท้าให้ลงตามจังหวะโทน

ต่อมาการเล่น “รำโทน” ได้พัฒนามาเป็น “รำวง” ลักษณะการรำวง คือ มีโต๊ะตั้งกลางวง ชาย – หญิงรำเป็นคู่ ๆ เดินเป็นวงกลมอย่างมีระเบียบ แต่ยังคงยึดจังหวะโทนเป็นหลัก มีการ ขับร้องเพลงประกอบในการรำ เรียกว่า “รำวงพื้นบ้าน” การรำวงนี้นิยมเล่นในงานเทศกาล หรือเล่นกันเองด้วยความสนุกสนาน เนื้อหาสาระของเพลงรำวงพื้นเมือง นอกจากให้ความบันเทิงแล้วยังสอดแทรกอารมณ์ ความรู้ ขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เพลงช่อมาลี เธอรำช่างน่าดู หล่อจริงนะดารา ตามองตา ยวนยาเหล ใกล้เข้าไปอีกนิด ฯลฯ

ต่อมาในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2487 ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร ปรับปรุงการเล่นรำวงพื้นบ้าน ให้มีระเบียบเรียบร้อย เป็นแบบฉบับอันดีงามของนาฏศิลป์ไทยและเพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการละเล่นพื้นเมือง กรมศิลปากรจึงแต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่ 4 เพลง คือ งามแสงเดือน ชาวไทย คืนเดือนหงาย และรำมาซิมารำ พร้อมทั้งปรับปรุงเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการเล่นรำวงมาเป็นวงปี่พาทย์หรือวงดนตรีสากล

บทเพลงรำวงมาตรฐานนี้ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งบทร้องอีก 6 เพลง คือ ดวงจันทร์วันเพ็ญ ดอกไม้ของชาติ หญิงไทยใจงาม ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ยอดชายใจหาญ และ บูชานักรบ

ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลงรำวงทั้ง 10 เพลงนั้น คือ คณะอาจารย์ด้านนาฏศิลป์ของกรมศิลปากร ได้ช่วยกันคิดประดิษฐ์ท่ารำให้งดงามถูกต้องตามหลักนาฏศิลป์ กำหนดให้เป็นแบบมาตรฐาน ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำของรำวงมาตรฐาน คือ หม่อมต่วน (นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) ครูมัลลี คงประภัทร์ ครูลมุล ยมะคุปต์ และครูผัน โมรากุล ต่อมาได้มีการนำรำวงนี้ไปสลับกับวงลีลาศ ทำให้ชาวต่างประเทศรู้จักรำวง เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้เล่นกันแพร่หลาย และมีแบบแผนอันเดียวกัน กรมศิลปากรจึงเรียกว่า “รำวงมาตรฐาน”


ถ้าชอบบทความนี้ กด Like เลย :การรำวงซึ่งแสดงถึงวิถีไทยอย่างไรบ้าง

 2,345 view  หมวดหมู่ : การศึกษา ประวัติศาสตร์  วันที่สร้าง : 13/07/2012


 ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

#1.    เฮียมิ้ง
@ เพลงรำวงมาตรฐานทั้ง10เพลง ตั้งแต่เพลงงามแสงเดือนจนถึงเพลงบูชานักรบ ใช้จังหวะเพลงเดียวกันคือจังหวะหน้าทับ ตามมาตรฐานสากลแล้ว เพลงงามแสงเดือนจึงควรรำด้วยท่ารำมาตรฐานได้ทั้ง 14 แม่ท่า เพราะเหตุใดกรมศิลปากรจึงกำหนดให้ใช้ได้แต่เพียงท่าสอดสร้อยมาลาเท่านั้น ท่านผู้รู้ช่วยตอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ

...............................................



× แจ้งเตือน! เราสนับสนุนทุกความคิดเห็น ที่ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

เนื้อหาที่เกี่ยวช้อง

  การพบร่องรอยของเมืองโมเฮนโจแสดงว่าคนในยุคนั้นเจริญในด้านใด ถามเมื่อ (2015-03-16)   2,268 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 44 นาที)

  เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่1พุทธศักราชเทียบกับจุลสักราชเท่าใด ถามเมื่อ (2013-11-29)   2,338 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 162 นาที)

  รัฐวิสาหกิจมีกี่ประเภท ถามเมื่อ (2016-09-14)   2,939 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 176 นาที)

  จดหมายเหตุจีน เมืองหลอหู คือ อาณาจักรใด ถามเมื่อ (2024-03-29)   34,706 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 200 นาที)

  กลุ่มอาเซียนจัดตั้งขึ้น พ ศใดครับ ถามเมื่อ (2011-12-04)   2,843 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 247 นาที)

  นักโทษสองแผ่นดิน ถามเมื่อ (2012-08-14)   26,301 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 328 นาที)

  ฉนวนไทย หมายถึง อะไร ถามเมื่อ (2016-09-21)   10,430 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 330 นาที)

  ช่วยคิดหน่อยคะคำนำเรื่องประวัติความเป็นมาจังหวัดกระบี่ ถามเมื่อ (2014-08-27)   2,736 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 335 นาที)

  แปลเป็นภาษาอังกฤษ ถามเมื่อ (2012-03-08)   3,099 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 355 นาที)

  ข้อดีข้อด้อยของจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ถามเมื่อ (2022-08-08)   1,063 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 380 นาที)


 

บ้านเดียวกันดอทคอม เว็บถามตอบ รวมทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีสาระ
www.ban1gun.com