การอ่านฉลากยาภาษาอังกฤษ  สร้างคำถาม

 3,390 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 20/04/2012

การอ่านฉลากยาภาษาอังกฤษ

ข้อมูลบนฉลากยาโดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วย

ชื่อและนามสกุลของผู้ป่วย

เป็นข้อมูลที่สำคัญเพื่อยืนยันการจ่ายยาว่าถูกต้องตรงกับตัวผู้ป่วยผู้รับยาจริง โดยหากเป็นการรับยาในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ก็มักจะมีการระบุหมายเลขผู้ป่วย (hospital number: HN) ประจำโรงพยาบาลนั้น ๆ บนฉลากยาด้วย เพื่อช่วยให้สามารถระบุตัวผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น

ชื่อยา

ส่วนใหญ่มักจะมีการระบุเป็นชื่อยา รูปแบบของยา (dosage form) และขนาดความแรงของยา (strength) โดยมักจะระบุเป็นภาษาอังกฤษ เช่น paracetamol tablet 500 mg. หมายถึง ยาพาราเซตามอล ชนิดเม็ด ขนาดความแรงเม็ดละ 500 มิลลิกรัม ทั้งนี้ โดยทั่วไปชื่อยามีสองแบบ ได้แก่

ชื่อสามัญทางยา เป็นชื่อเฉพาะของตัวยาที่เรียกแล้วเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป

ชื่อยาทางการค้า เป็นชื่อยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ยาที่ผลิต นำเข้า หรือจัดจำหน่ายโดยบริษัทผู้ประกอบการแต่ละแห่ง ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดังนั้น ยาชื่อสามัญเดียวกัน จึงมีได้หลายชื่อทางการค้าที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งเวลาอ่านชื่อยาผู้ที่ใช้ยาจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับชื่อสามัญทางยา เพื่อสามารถนำไปใช้สืบค้นข้อมูล หรือเพื่อการสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์หรือสถานพยาบาลอื่นๆ ที่ไปใช้บริการได้ง่ายขึ้น

ชื่อยาที่ระบุบนฉลากยาส่วนใหญ่มักจะมีความหลากหลาย สถานพยาบาลบางแห่งจะระบุเป็นชื่อสามัญทางยา บางแห่งจะระบุเป็นชื่อยาทางการค้า หรือบางแห่งอาจระบุทั้งสองแบบ ดังนั้น ผู้ที่ใช้ยาจึงควรจะศึกษาชื่อยาที่ตนเองใช้อยู่เพื่อให้รู้จักชื่อยาทั้งสองแบบ โดยสามารถสอบถามได้จากเภสัชกรผู้จ่ายยา

ข้อบ่งใช้ของยาที่ระบุว่าใช้สำหรับโรคหรืออาการอะไร

เพื่อให้ผู้ป่วยได้ทราบว่ายาแต่ละรายการที่ผู้ป่วยได้รับมีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อรักษาโรคหรืออาการอะไรที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ในบางกรณีที่ตัวยาบางตัวสามารถใช้ในการรักษาได้มากกว่าหนึ่งโรคหรืออาการ สถานพยาบาลส่วนใหญ่มักจะระบุข้อบ่งใช้กลาง ๆ หรือระบุรวมไว้ทุกอาการ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ผู้ใช้ยาไม่เข้าใจและไม่แน่ใจว่ายาที่ได้รับนั้นถูกต้องหรือไม่ ดังนั้น หากผู้ใช้ยามีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจข้อบ่งใช้ของยา จึงควรสอบถามข้อมูลจากเภสัชกรผู้จ่ายยาหรือแพทย์ผู้สั่งจ่ายยาให้ชัดเจน

วิธีการใช้ยา

การใช้ยาอย่างถูกวิธี เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ผู้ใช้ยาได้รับผลในการรักษาจากยาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้น จึงต้องมีการระบุวิธีการใช้ยาบนฉลากยาอย่างครบถ้วนและเข้าใจได้ง่าย สำหรับยาทุกรายการที่ได้จ่ายให้ผู้ป่วย ยาโดยทั่วไปมีวิธีการใช้ในสองลักษณะ

ยารับประทาน - จะต้องมีการระบุความถี่ว่ารับประทานวันละกี่ครั้งและเวลาที่รับประทานยาในแต่ละมื้อของแต่ละวัน

ยาใช้ภายนอกและ / หรือห้ามรับประทาน - จะต้องมีการระบุวิธีการใช้อย่างชัดเจนว่าให้ใช้ยากับบริเวณหรือช่องทางใดของร่างกาย เช่น ใช้ทาผิวหนังบริเวณใด ใช้หยอดตาข้างไหน ฯลฯ ระบุประมาณยาที่ใช้ในแต่ละครั้ง และความถี่ของการใช้ยาในแต่ละวัน

นอกจากนี้ การใช้ยาบางอย่างอาจมีวิธีใช้ที่พิเศษเฉพาะเจาะจง ก็จะต้องมีข้อมูลคำแนะนำพิเศษสำหรับการใช้ยาตัวนั้น ๆ อย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งแตกต่างจากการใช้ยาอื่น ๆ โดยทั่วไป รวมทั้ง ข้อมูลว่ายาที่ได้รับมีลักษณะการใช้เป็นแบบที่ต้องใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นการใช้ยาเฉพาะตามอาการบางอย่างตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น

ผลข้างเคียงของยาที่สำคัญ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ยา

ผลของยาที่มีต่อร่างกายนั้น นอกจากผลในการรักษาที่ต้องการในการใช้ยานั้นสำหรับรักษาโรคหรือบรรเทาอาการแล้ว ในขณะเดียวกันยาก็ยังอาจให้ผลอันไม่พึงประสงค์อื่นได้อีกด้วย เช่น ผลข้างเคียงของยา ซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ยา ทั้งนี้ การตอบสนองของยาเดียวกันในผู้ป่วยแต่ละคน ก็อาจมีความแตกต่างกันได้เนื่องจากความไวต่อยา หรือกระบวนการในการจัดการยาในร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน ทำให้ผลของยาทั้งผลในการรักษาและผลข้างเคียงของยาที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันด้วย ดังนั้น ผลข้างเคียงจึงเป็นสิ่งที่โดยทั่วไปแล้วอาจไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย แต่มักจะเกิดกับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น โดยอาการอาจมีทั้งแบบที่รุนแรงและไม่รุนแรง

ผลข้างเคียงของยาที่มีอาการรุนแรง ผลข้างเคียงของยาบางอย่างอาจมีอาการที่รุนแรง หรืออาจเป็นอาการที่บ่งบอกถึงแนวโน้มในการเกิดอาการที่รุนแรงได้ โดยหากยารายการใดมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่สำคัญเหล่านี้ได้มาก ก็จะต้องมีการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยโดยระบุไว้บนฉลากยาด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยระมัดระวังและสังเกตอาการของตนเอง และเตือนผู้ป่วยว่าหากเกิดอาการเหล่านี้ให้รีบแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที

ผลข้างเคียงของยาที่มีอาการไม่รุนแรง ผลข้างเคียงของยาบางอย่างอาจเกิดขึ้นได้แต่อาการไม่รุนแรง ซึ่งหากพบได้บ่อยก็อาจมีการระบุไว้บนฉลากยา โดยให้ข้อมูลผู้ป่วยว่าถ้าอาการเหล่านี้เป็นอย่างต่อเนื่องหรือมีอาการมากจนกระทั่งรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ใช้ยา ก็ต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเมื่อมารักษาในครั้งต่อ ๆ ไป แต่ไม่จำเป็นต้องแจ้งอย่างรีบด่วนในทันที ทั้งนี้ เพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรพิจารณาพิจารณาวิธีการแก้ไข หาทางเลือกที่เหมาะสมในการรักษา หรือให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้ไม่ให้รบกวนชีวิตประจำวัน

วิธีการเก็บรักษายา

ผู้ป่วยควรเก็บรักษายาตามที่ระบุไว้เพื่อคงคุณภาพการรักษาของผลิตภัณฑ์ยาให้มีประสิทธิภาพตลอดช่วงเวลาที่ใช้ยา

ในการจ่ายยาโดยเภสัชกรให้กับผู้ป่วย และการรับยาผู้ป่วยจากเภสัชกร นั้น ควรมีการสื่อสารกันแบบสองทาง (2-way communication) โดยเภสัชกรควรมีการสอบถามเพื่อระบุตัวผู้ป่วยอย่างถูกต้องด้วยข้อมูลชื่อ-นามสกุลของผู้ป่วย หรืออาจดูหมายเลขประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาลด้วย จากนั้นควรต้องสอบถามถึงโรคหรืออาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่และได้รับยาในวันนั้น และให้คำแนะนำตามข้อมูลในข้อ 2.- 6. ตามที่ระบุไว้ข้างต้น รวมทั้ง เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ซักถามข้อมูลเพิ่มเติมถ้าผู้ป่วยมีข้อสงสัย สำหรับผู้ป่วยก็ควรทำความเข้าใจกับข้อมูลที่ได้รับเป็นการช่วยตรวจสอบข้อมูลอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อลดโอกาสเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกันระหว่างแพทย์ผู้สั่งจ่ายยา เภสัชกรผู้จ่ายยา และตัวผู้ป่วยเอง และหากผู้ป่วยมีข้อสงสัยก็ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการใช้ยาให้มากที่สุดและสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย


ถ้าชอบบทความนี้ กด Like เลย :การอ่านฉลากยาภาษาอังกฤษ

 3,390 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 20/04/2012


 ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่




× แจ้งเตือน! เราสนับสนุนทุกความคิดเห็น ที่ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

เนื้อหาที่เกี่ยวช้อง

  เกาะติดสถานการณ์น้ําท่วมพระนคศรีอยุธยา ถามเมื่อ (2011-10-06)   2,342 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 45 วินาที!!)

  จืดเหมือนอะไร ถามเมื่อ (2011-10-30)   2,157 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 1 นาที)

  วิธีการเก็บรักษาผักให้สดทำไง ถามเมื่อ (2011-07-01)   3,258 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 2 นาที)

  ภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นเพราะอะไร ถามเมื่อ (2013-04-30)   2,576 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 2 นาที)

  การริเริ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากสาธาณชนหรือไม ถามเมื่อ (2011-08-14)   1,953 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 3 นาที)

  ขับรถยังไงให้ประหยัดน้ำมัน ถามเมื่อ (2012-06-28)   2,177 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 3 นาที)

  ประวัติประชาไทธนณรงค์ ถามเมื่อ (2011-11-26)   6,928 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 7 นาที)

  วิธีทําให้สูง ถามเมื่อ (2011-09-22)   1,994 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 7 นาที)

  ยกเลิกบริการ 321 load ถามเมื่อ (2012-07-12)   2,517 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 8 นาที)

  รื้อ ถอน บ้าน ไม้ ค่า รื้อถอน แพงมั๊ยครับ ราคาประมาณเท่าไร ถามเมื่อ (2014-06-11)   2,324 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 8 นาที)


 

บ้านเดียวกันดอทคอม เว็บถามตอบ รวมทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีสาระ
www.ban1gun.com