อัคคัญญสูตรมีอิทธิพลต่อวรรณกรรมเล่มใดมากที่สุด  สร้างคำถาม

 1,973 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 17/07/2012

อัคคัญญสูตรมีอิทธิพลต่อวรรณกรรมเล่มใดมากที่สุด

๓.๑. อัคคัญสูตร : สูตรว่าด้วยการกำเนิดแห่งรัฐ [1]

สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคามาตา ในบุพพาราม กรุงสาวัตถี สามเณรวาเสฎฐะ ชวนสามเณรภารทวาชะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าตรัสถามว่า วาเสฎฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองมีชาติตระกูลเป็นพราหมณ์มาบวชเป็นบรรพชิต พวกพราหมณ์ไม่ด่า ไม่บริภาษเธอทั้งสองหรือ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ด่า บริภาษข้าพระองค์ทั้งสองด้วยคำเหยียดหยามอย่างสมใจ ว่าพราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด เป็นวรรณะที่ขาว เป็นวรรณที่บริสุทธิ์ ส่วนวรรณอื่นเลว, ดำและไม่บริสุทธิ์ เพราะพราหมณ์เป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ ของพราหมณ์และพระพรหมสร้างขึ้น เจ้าทั้งสองมาละวรรณะที่ประเสริฐเข้าไปอยู่ในวรรณะที่เลวทราม คือสมณะโล้น เป็นคนรับใช้ เป็นคนวรรณะต่ำ (กัณหโคตร) เป็นเผ่าของมาร เกิดจากพระบาทของพระพรหม

พระพุทธเจ้า : วาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็เป็นที่รู้อยู่ว่า นางพราหมณีของพราหมณ์ทั้งหลาย มีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดอยู่บ้าง ให้ลูกดื่มนมบ้าง ก็พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้เกิดทางช่องคลอดของนางพราหมณีทั้งนั้น ยังกล่าวอย่างนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐที่สุด คือพราหมณ์เท่านั้น ฯลฯ...เป็นทายาทของพระพรหม ก็พราหมณ์เหล่านั้นกล่าวตู่พระพรหมและพูดเท็จ พวกเขาจะต้องประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก

ความเป็นจริง ไม่ว่าจะวรรณะไหนในวรรณะทั้ง ๔ ทั้งกษัตริย์, พราหมณ์, แพศย์ และศูทร ถ้าประพฤติชั่วก็ถือว่าเป็นธรรมดำ มีวิบากดำ วิญญูชนติเตียน แต่ถ้าหากประพฤติดีก็เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว วิญญูชนสรรเสริญ

วาเสฏฐะและภารทวาชะ พระเจ้าประเสนทิโกศลทรงกระทำการนอบน้อม อภิวาท ต้อนรับ อัญชลีกรรมและสามีจิกรรมในตถาคต ดังที่พวกเจ้าศากยะทรงกระทำต่อพระองค์มิใช่เพราะวรรณะ ชาติกำเนิด แต่เป็นเพราะพระองค์ทรงสักการะธรรม เคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม นอบน้อมธรรม ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่มนุษย์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

สมัยหนึ่ง ครั้นเวลาล่วงเลยมาช้านาน โลกนี้เสื่อม เมื่อโลกกำลังเสื่อม เหล่าสัตว์ส่วนมากไปเกิดที่พรหมโลกชั้นอาภัสสระ มีปีติเป็นภักษา ครั้นเวลาล่วงเลยมาช้านานโลกนี้เจริญขึ้นเมื่อโลกกำลังเจริญขึ้น เหล่าสัตว์ส่วนมากจุติจากพรหมโลกชั้นอาภัสสระมาเกิดเป็นมนุษย์ นึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ตามปรารถนา มีปีติเป็นภักษา มีรัศมีซ่านออกจากร่างกาย เที่ยวสัญจร ไปในอากาศ อยู่ในวิมานอันงดงาม สถิตอยู่นานแสนนาน

สมัยนั้นทั่วจักรวาล มืดมนอนธการ ไม่มีดวงจันทร์ ไม่มีดวงอาทิตย์ ไม่มีดวงดาว ไม่ปรากฏกลางคืน กลางวัน เดือน ฤดู ปี แม้แต่ชายหญิงก็ไม่ปรากฏ มีชื่อเพียงว่า “สัตว์” เท่านั้น ต่อมาเกิดง้วนดิน, สะเก็ดดิน, เครือดิน และข้าวสาลีโดยลำดับ มีการทดลองลิ้มรสจนเกิดตัณหาขึ้น วัน-เดือน-ปี-ฤดูกาล-ดวงดาวก็ปรากฏ และเพศหญิงเพศชายก็ปรากฏ มีการเสพเมถุนธรรม มีความโลภ ขี้เกียจ แย่งชิง ลักขโมยกันขึ้น จนเกิดสถาบันทางสังคมและการเมืองอย่างสถาบันกษัตริย์, พราหมณ์, แพศย์และศูทร ขึ้นมา

๓.๒. แนวคิดทางสังคมและการเมืองอินเดียโบราณ

ชนชาติอินเดียโบราณ ได้รับการถ่ายทอดในเรื่องของชนชั้น (วรรณะ) มาหลายชั่วอายุคนนับเป็นพัน ๆ ปี แม้ในยุคสมัยพุทธกาล ความคิด ความเชื่อเรื่องของวรรณะยังปรากฏเป็นชนชั้นทางสังคมอย่างเข้มแข็ง โดยมีความเชื่อว่าวรรณะพราหมณ์ได้ถือกำเนิดมาจากปากของพระพรหม, วรรณะนอกนั้นเกิดจากพระพรหมเหมือนกัน หากแต่ว่าเกิดในบริเวณที่มีฐานะต่ำกว่าพวกพราหมณ์ เช่น แขน, ท้อง และขา เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้พวกพราหมณ์อ้างสิทธิ์ถึงความสูงส่งของชาติตระกูลของตน

๓.๒.๑. ชนชั้นทางสังคม (Social Class)

ชนชั้นทางสังคม เป็นการจัดระเบียบทางสังคม [Social Organization] ของมนุษย์เพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อย หรือมักหมายถึงแบบแผนกฏเกณฑ์ทั้งหลายอันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างบุคคลและกลุ่ม อาจกล่าวถึงการจัดระเบียบสังคมของความสัมพันธ์ระหว่างสามีกับภรรยา [2] บิดามารดากับบุตรธิดา อาจารย์กับศิษย์ เป็นต้น ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เป็นความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationship) เป็นกระสวนแห่งจรรยาทางสังคม (Social Conduct) กล่าวคือเป็นกระสวนปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล มีลักษณะจำกัดทางตำแหน่ง หรือพื้นที่มากกว่าจะเป็นไปตามเวลา หรือการเคลื่อนไหว เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอำนาจกับผู้ไม่มีอำนาจ และบทบาทหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในสังคม เป็นต้น ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรูปของความสัมพันธ์ทางสังคมนี้ สามารถจะศึกษาเพิ่มเติมได้ในเรื่อง สถานภาพและบทบาท (Status and Role) การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม (Social Stratification) และกลุ่มสังคม (Social Groups) เป็นต้น [3]

แนวคิดดังกล่าวนี้ วรรณะพราหมณ์เป็นคนกำหนดขึ้นมาเพื่อควบคุมคนในสังคมโดยสมมติว่าพระพรหมทรงมีรูปร่างเหมือนมนุษย์ ดังนั้นอวัยวะที่สูงที่สุด ดีที่สุดคือปากซึ่งก็คือวรรณะพราหมณ์ที่มีหน้าที่ท่องบทสวดมนต์และสั่งสอนคนในสังคม, วรรณะกษัตริย์ ซึ่งเปรียบเสมือนแขนขาจับอาวุธต่อสู้ป้องกันบ้านเมือง, วรรณะแพศย์ ซึ่งเป็นเหมือนท้องของพรหม มีหน้าที่ค้าขายหาอาหารมาบำรุงร่างกาย หรือหมู่คนวรรณะต่าง ๆ และวรรณะศูทร์ ซึ่งเปรียบเหมือนขา มีหน้าที่เดินหรือเป็นพาหนะนำร่างกายไปสู่ที่ต่าง ๆ แนวคิดลักษณะดังกล่าวนี้อริสโตเติล ก็ได้เปรียบมนุษย์ในรัฐว่าเป็นดังเช่น องคาพยพ หรืออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายนั้นเองเหตุเพราะอวัยะแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง จะต้องพึ่งอวัยวะส่วนอื่น ๆ จึงจะสมบูรณ์ได้ [4] อันที่จริงวรรณะ แปลว่าสี หรือ ผิวพรรณ เมื่อผู้บุกรุกเป็นฝ่ายชนะจึงได้กำหนดสีผิวเพื่อแยกฝ่าย ต่อมาพวกอินเดียเหนือได้มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้าอีกองค์ คือพระศิวะ หรือพระอิศวร พระองค์ทรงมีพระวรกายสีขาว เหตุเพราะพวกอินเดียทางภาคเหนือมีสีขาว ต่อมาชนอินเดียทางใต้ เชื่อพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ ซึ่งมีพระวรกายนิล หรือสีดำ เหตุเพราะชาวอินเดียใต้มีสีดำ [5]

๓.๒.๒. บทบาทและความบริสุทธิ์ของวรรณะ

ในสังคมอินเดียโบราณพฤติกรรมในสังคมและการดำเนินชีวิตนั้น พวกคนชั้นสูงมีความถือตัวมากโดยคิดว่าพวกตนดีกว่าสูงกว่าพวกอื่น ไม่ค่อยยอมระคนปนเป หรืออ่อนน้อมต่อคนพวกอื่น แม้พวกกษัตริย์ด้วยกันก็ยังรังเกียรติกันด้วยโคตร เช่น กษัตริย์โคตมโคตร ถือว่าตนสูงกว่าโคตรอื่น ๆ จึงไม่ยอมแต่งงานกับพวกอื่นนอกจากพวกของตนเอง [6] ซึ่งเหตุผลนี้เองหลังจากสามเณรวาเสฏฐะและภารทวาชะซึ่งเกิดขึ้นมาในตระกูลพราหมณ์ได้เข้ามาบวชในบวรพุทธศาสนา พวกพราหมณ์ถือว่าเป็นการลดตัวหรือศักดิ์ศรีลงมาบวชในวรรณะที่ต่ำกว่าคือสมณะอันเป็นเหล่ากอของพระพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าเป็นวรรณะกษัตริย์ (ศากยบุตร) จึงถูกพวกพราหมณ์โจมตี ด่า และดูถูกเหยียดหยาม [7]

การทำให้เสียวรรณะ หรือละเมิดวรรณะเป็นสิ่งที่ไม่น่าให้อภัยเพราะไม่ต่างจากการก่อ “อธรรม” ให้เกิดขึ้น [8] แท้จริงกระบวนการทางสังคม (Social Processes) แบบนี้คือภาวะความเป็นไปของสังคมที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวหรือวิวัฒนาการให้มีคุณลักษณะทั้งที่พึงปรารถนาสามารถสังเกตเห็นได้และปรากฏในชื่อเรียกต่าง ๆ เช่น การเลียนแบบ (Imitation) , การผสมผสานประนีประนอม (Acculturation), ความร่วมมือ (Co-operation), การแข่งขัน (Competition), ความขัดแย้งกัน (Conflict) เป็นต้น [9]



๓.๓. แนวคิดทางสังคมและการเมืองของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้า แม้จะทรงถูกหล่อหลอมด้วยแนวความคิดคติของพราหมณ์มาตั้งแต่พระองค์ยังทรงพระเยาว์ก็ตาม แต่พระองค์กลับมอง สังคมในยุคนั้นว่า

๓.๓.๑.ความเสมอภาคของบุคคลทางการกำเนิด

ถ้าพราหมณ์อ้างตัวว่าตนเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด-วรรณะอื่นเลว วรรณะพราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์-วรรณะอื่นไม่บริสุทธิ์ วรรณะพราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตรเป็นโอรสเป็นทายาทของพระพรหม แต่โดยธรรมชาติแล้วไม่ว่าวรรณะไหนก็เกิดมาจากช่องคลอดของหญิงทั้งนั้น จึงไม่มีวรรณะไหนประเสริฐกว่ากัน หรือดีเด่นไปกว่ากันโดยทางกำเนิด

๓.๓.๒.ความเสมอภาคของบุคคลทางการประพฤติ

พระพุทธองค์ทรงชี้เรื่องกรรม คือการกระทำเป็นตัวชี้วัดว่า ไม่ว่าจะเป็นวรรณะไหนก็ตามทั้งกษัตริย์, พรามณ์, แพศย์ หรือศูทร ถ้าเป็นผู้ฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, ประพฤติผิดในกาม, พูดเท็จ, อยากได้ของของเขา, มีจิตพยาบาท, มีความเห็นผิด ก็เป็นคนไม่ดีทั้งนั้น ในทางตรงข้ามถ้าประพฤติตนเป็นผู้ไม่ฆ่าสัตว์, ไม่ลักทรัพย์, ไม่ประพฤติผิดในกามคุณ, ไม่พูดจาโกหก ฯลฯ แม้จะเกิดมาจากวรรณะ หรือชนชั้นไหนก็ตาม ย่อมจะเป็นคนที่ดีมีศีลธรรมเสมอกันหมด



๓.๓.๓. พัฒนาการแห่งสังคมมนุษย์ (ชนชั้นทางสังคม)

เพื่อที่จะให้สามเณรวาเสฎฐะและสามเณรภารทวาชะ เห็นภาพที่ชัดเจนในการกำเนิดแห่งสังคม-รัฐ-การวิวัฒนาการ จึงได้ตรัสว่า

“ สมัยหนึ่งครั้นเวลาล่วงเลยมาช้านานโลกนี้เสื่อม กำลังเสื่อม เหล่าสัตว์

ส่วนมาก (ผู้ที่ทำคุณงามความดีมาพอสมควร) ไปเกิดในพรหมโลกชั้น

อาภัสสระนึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ตามใจปรารถนามีปีติเป็นภักษา (อาหาร)

มีรัศมีซ่านออกมาจากร่างกายเที่ยวสัญจรไปมาในอากาศเมื่อเวลาล่วงเลยมาช้านาน

โลกนี้เจริญขึ้น เมื่อโลกกำลังเจริญขึ้น เหล่าสัตว์ส่วนมากก็จุติจากพรหมโลกมายังโลกมนุษย์นี้ ซึ่งสมัยนั้นทั่วจักรวาลนี้เป็นน้ำ มืดไปหมด ไม่มีดวงจันทร์ไม่มีดวงอาทิตย์ ไม่มีดวงดาวนักษัตร ไม่มีกลางคืน ไม่มีกลางวัน ไม่มีกึ่งเดือนเดือน ปี หรือฤดูกาล แม้เพศชายหรือหญิงก็ไม่ปรากฏเพียงแต่รู้จักว่าเป็นสัตว์เท่านั้น

ต่อมาเกิดง้วนดินลอยอยู่บนน้ำจับตัวอยู่เป็นฝาอยู่ข้างบน มีลักษณะเหมือนน้ำนม(ที่บุคคลเคี่ยวให้แห้งแล้วให้เย็นสนิท) สมบูรณ์ด้วยสี, กลิ่น และรสสัตว์หนึ่งมีนิสัยโลภ ลองใช้นิ้วช้อนขึ้นมาชิมดู จึงเกิดความยาก สัตว์นอกนั้นก็พากันทำดูรสง้วนดินก็แผ่ซ่านไปจึงเกิดความอยากในรสขึ้น จึงเป็นเหตุให้รัศมีหายไปเมื่อรัศมีหายไปจึงเกิดมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ขึ้น เมื่อมีแสงสว่างจึงปรากฏดวงดาวนักษัตรขึ้นแล้วปรากฏมีกลางคืน, กลางวัน พัฒนามาเป็นกึ่งเดือน,หนึ่งเดือน, ปี และฤดูกาลต่าง ๆ ” [10]


ถ้าชอบบทความนี้ กด Like เลย :อัคคัญญสูตรมีอิทธิพลต่อวรรณกรรมเล่มใดมากที่สุด

 1,973 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 17/07/2012


 ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่




× แจ้งเตือน! เราสนับสนุนทุกความคิดเห็น ที่ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

เนื้อหาที่เกี่ยวช้อง

  client อ่านว่า ถามเมื่อ (2011-09-29)   2,298 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 30 วินาที!!)

  สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดยาเสพติด ถามเมื่อ (2011-10-07)   2,149 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 31 วินาที!!)

  ใจน้องมิให้หมองอารมณ์หม่อม ถามเมื่อ (2012-09-03)   2,160 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 52 วินาที!!)

  ทำไมก่อนจะเข้า Facebook จะขึ้นThe security certificate presented by this website has expired or is not yet valid ช่วยแนะนำด้วยค่ะ ถามเมื่อ (2012-03-22)   2,497 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 2 นาที)

  นาฏศิลป์ในลาว ถามเมื่อ (2014-07-02)   2,479 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 2 นาที)

  สถานศึกษาทางนิติศาสตร์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด คือ ถามเมื่อ (2011-07-25)   1,988 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 5 นาที)

  ตั้งรหัสให้หน่อยค่ะ ถามเมื่อ (2012-08-28)   2,398 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 6 นาที)

  พมตอ้งการรู้ว้ากาดจอของพมรุ้นอะไร ต้องทำยังงัยครับ ชว่ยบอกพมมดว้ย ถามเมื่อ (2011-09-04)   2,039 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 6 นาที)

  บทคัดย่อ คืออะไร ถามเมื่อ (2011-09-16)   4,486 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 6 นาที)

  หลักธรรมภิบาล มีอะไรบ้าง ถามเมื่อ (2011-07-01)   3,166 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 7 นาที)


 

บ้านเดียวกันดอทคอม เว็บถามตอบ รวมทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีสาระ
www.ban1gun.com