สมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนเกลือ – น้ำสกัด  สร้างคำถาม

 2,123 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 16/09/2012

สมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนเกลือ – น้ำสกัด


สมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน
functional properties of protein

สมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน (functional properties of protein) เป็นสมบัติของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้งานในอาหาร

1 การจับกับน้ำ (water binding)
ปรตีนเป็นโพลีเปปไตน์ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ของกรดอะมิโน (amino acid) ในโมเลกุลของกรดอะมิโน มีหมู่ R ที่ชอบน้ำ และไม่ชอบน้ำ ดังนั้นการจับกับน้ำของโปรตีนจึงขี้นอยู่กับชนิด ปริมาณ และลำดับการจัดเรียงตัวของกรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบ

การแขวนลอยในน้ำ (hydrocolloid) และ การตกตะกอน (precipitation) ของโปรตีน มีความสำคัญในการแยกโปรตีนออกจากสารละลาย การเพิ่มความหนืด (viscosity) การเกิดเจล (gel)

การเติมเกลือ ในสารละลายโปรตีน ก็ทำให้โปรตีนตกตะกอนได้เช่นเดียวกับการปรับ pH เพราะเกลือแตกตัวเป็นประจุบวกและประจุลบและรวมตัวกับ โปรตีน การเติมเกลือปริมาณน้อยๆ อาจทำให้โปรตีนละลายได้มากขึ้นหรือจับกับน้ำได้ดีขี้น (salting in) และจะละลายได้ดีขึ้นจนถึงจุดสูงสุด แต่หากสารละลายเกลือเข้มข้นมากขึ้น ก็จะทำให้โปรตีนตกตะกอน (salting out)
2 การเป็นอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier)
โปรตีน ช่วยให้อิมัลชัน (emulsion) คงตัว ด้วยการลดแรงตึงผิว(surface tension) ของของเหลว โดยช่วยป้องกันอิมัลชัน ไม่ให้แยกเป็นชั้น ซึ่งในโมเลกุลของโปรตีนซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน (amino acid) หลายชนิด มีทั้งส่วนที่ชอบน้ำ(hydrophillic) และไม่ชอบน้ำ(hydrophobic) ในสายโพลีเปปไตน์ โดยจะหันส่วนที่ชอบน้ำเข้าหาน้ำ และหันส่วนที่ไม่ชอบน้ำเข้าหาไขมัน

3 การเกิดโฟม (foaming ability)
โฟมเป็นฟองอากาศขนาดเล็กที่แขวนลอยอยู่ในของเหลว หรือของแข็ง โดยมีฟีมส์บางๆ ล้อมรอบอากาศไว้ เกิดจากการตี หรือปั่น (beating or whipping) อย่างรุนแรง

การเกิดโฟมของโปรตีนจะเกิดได้ดี โปรตีนต้องมีความยืดหยุ่นสูง และสามารถเกิดเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ และแข็งแรงที่สามารถกักเก็บอากาศได้ โปรตีนที่มีความหยืดหยุ่นที่สามารถเกิดโฟมได้ดีต้องมี suface hydrophobicity สูงๆ ซึ่งในระหว่างการตีหรือการทำให้เกิดโฟม เช่น โปรตีนในไข่ขาว นม เป็นสารที่ทำให้เกิดโฟม (foaming agent) แรงกลจาก การตี หรือปั่นอย่างรุนแรง ทำให้โปรตีนพันธะระหว่างโมเลกุลของโปรตีนเกิดการเสียสภาพทางธรรมชาติ (protein denaturation) เกิดการคลายตัว (unfolding) ของโครงสร้างโปรตีน เกิดเป็นฟิมส์ และจับกับน้ำซึ่งอยู่รอบๆได้ หันด้านที่เป็น hydrophobic ที่อยู่ด้านในโครงสร้าง ออกมาด้านนอก ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดโครงสร้างของโฟม โดยเกิดเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ ที่สามารถกักเก็บอากาศไว้ได้
4 การเกิดเนื้อเยื่อ (Texturzation)

การเกิดโด (dough formation)

โด เกิดจากการผสมแป้งสาลี (wheat flour) กับน้ำแล้วนวดให้เข้ากัน โปรตีน ที่พบในส่วนที่เป็นเอ็นโดสเปอร์ม ของข้าวสาลี ประกอบด้วย โปรตีน กลูเตนิน (glutenin) และไกลอะดิน (gliadin) ในสัดส่วนเท่าๆกัน จะสร้างพันธะไดซัลไฟด์ (disulfide bond) ทำให้ได้ กลูเตน (gluten) ซึ่งมีลักษณะเหนียวและยืดหยุ่น สามารถเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ผลิตขึ้นโดยยีสต์(yeast) หรือผงฟู (baking powder) เอาไว้ได้ ทำให้รักษารูปทรงของผลิตภัณฑ์เบเกอรี (bakery) เช่น ขนมปัง (bread)

5 การเกิดเจล (gelation)
โปรตีนสามารถรวมกับน้ำเกิดเป็นเจล (gel) ซึ่งเป็นโครงสร้างตาข่ายจับกับน้ำได้ดี มีลักษณะเป็นของกึ่งแข็ง ยึดหยุ่น โปรตีนที่มีสมบัติเชิงหน้าที่ทำให้เกิดเจล ได้แก่ เจลาติน (gelatin)
ส่วนเกลือกับน้ำสลัดเข้าใจว่าคนละส่วนกันนะครับ


ถ้าชอบบทความนี้ กด Like เลย :สมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนเกลือ – น้ำสกัด

 2,123 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 16/09/2012


 ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่




× แจ้งเตือน! เราสนับสนุนทุกความคิดเห็น ที่ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

เนื้อหาที่เกี่ยวช้อง

  ใครรู้วิธีแปลงไฟล์word2007 เปน 2003 บ้างครับ ถามเมื่อ (2011-08-12)   1,823 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 56 วินาที!!)

  โกจิเบอร์รี่ คืออะไร ถามเมื่อ (2011-09-23)   1,985 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 2 นาที)

  ข่าวทวิตเตอร์นายกฯถูกแฮกข้อมูล ถามเมื่อ (2011-10-03)   2,117 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 2 นาที)

  มีข้อความ BIOS ROM CHECK SUM ERROR ตอนเปิดเครื่อง ถามเมื่อ (2011-07-23)   2,146 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 2 นาที)

  นายร้อยเลื่อนไหล 53 ปี ตร ภาค 3 อบรมเมื่อไหร่ ถามเมื่อ (2012-01-30)   1,990 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 3 นาที)

  ฝากประจำคืออะไร ฝากธนาคารไหนดอกเบี้ยดีที่สุดค่ะ ถามเมื่อ (2011-08-10)   3,683 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 4 นาที)

  ทำไมจึงหยุดซื้อขายทองคำแท่งในวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนขตฤกษ์ ถามเมื่อ (2011-08-14)   2,023 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 5 นาที)

  จงใช้แผนผังความคิดหลัก เขียนสรุปสาระสำคัญเรื่องสารละลาย ถามเมื่อ (2021-06-09)   334 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 5 นาที)

  เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นคนผิวแห้ง ถามเมื่อ (2011-09-29)   1,798 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 6 นาที)

  ปาจรีย์ สวนศิลป์พงศ์ ถามเมื่อ (2012-01-09)   5,204 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 7 นาที)


 

บ้านเดียวกันดอทคอม เว็บถามตอบ รวมทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีสาระ
www.ban1gun.com