การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่น  สร้างคำถาม

 1,989 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 09/07/2012

การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่น

แนวทางการดูแลและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต จำเป็นต้องมีการจัดสรรและเลือกใช้อย่างเป็นระบบที่เหมาะสม เนื่องจากสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถสูญเสียหรือหมดไปจากแหล่งที่อยู่อาศัยในระบบนิเวศได้ หากมีการบุกรุกหรือการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศนั้นอย่างไม่เหมาะสม เช่น ตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ป่าหรือการเก็บพืชพรรณในป่าออกมามากเกินควร การปล่อยสารพิษลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นต้น
การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพจึงควรมีการดูแลเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) คือ ไม่เกิดการสูญเสียทรัพยากรชีวภาพอย่างสูญเปล่า และไม่ก่อให้เกิดการสูญสิ้นของชนิดหรือสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศนั้น ซึ่งแนวทางการดูแลรักษาความหลากหลายทางชีวภาพนั้น สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
1. ปลูกฝังจิตสำนึกของประชากรในชุมชน
คือ การปลูกฝังให้ประชากรในชุมชนมีความรักท้องถิ่น เข้าใจถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ผสมผสานให้เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ประชากรในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติหมดสิ้นไปจากท้องถิ่น รวมทั้งยังสามารถช่วยกันดูแลรักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้ยั่งยืนอยู่คู่ชุมชนสืบไปได้
2. การควบคุมดูแล
การควบคุมดูแลความหลากหลายทางชีวภาพโดยรัฐอาจเป็นการออกกฎหมายคุ้มครองหรือมีการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมดูแลการค้าสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่เสี่ยงต่อการสูญพันธ์ ตัวอย่างเช่น การลงนามความร่วมมือกันระหว่างประเทศในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือ อนุสัญญาไซเตส (CITES) ซึ่งทำให้เกิดการควบคุมดูแลการค้าขายนำเข้าและส่งออกสายพันธุ์พืชและสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เพื่อไม่ให้พืชหรือสัตว์สายพันธุ์ดังกล่าวถูกทำลายให้สูญพันธุ์ไปได้
สำหรับในประเทศไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีการควบคุมการค้าขายสายพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ไว้ 68 ชนิด เช่น รองเท้านารีดอกขาว เอื้องฟ้ามุ่ย เอื้องเขาแกะ เป็นต้น และควบคุมการค้าขายสายพันธุ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ไว้ 12 ชนิด เช่น เสือโคร่ง แรด ช้าง เป็นต้น
3. การอนุรักษ์
เป็นวิธีการป้องกันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชน โดยอาศัยวิธีการอนุรักษ์ป้องกันไม่ให้สิ่งมีชีวิตนั้นถูกรุกรานจนสูญพันธุ์ไป มีการเก็บรวบรวมตัวอย่างสิ่งมีชีวิตบางกลุ่มมาเลี้ยงเอาไว้ เพื่อศึกษาลักษณะการดำรงชีวิต และการขยายพันธุ์ เพื่อให้สามารถเพาะพันธุ์สิ่งมีชีวิตนั้นเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น โครงการอนุรักษ์เต่าทะเลซึ่งให้ชาวบ้านช่วยกันสำรวจไข่เต่า หากพบก็จะดูแลจนไข่ฟักออกมาเป็นตัว แล้วจึงปล่อยกลับลงทะเล
นับเป็นความโชคดีของประเทศไทยอย่างยิ่ง ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ป่าและพันธุ์พืชภายในประเทศให้คงอยู่ จึงทรงมีพระราชดำริให้มีการจัดตั้งโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานแกนนำส่งเสริมและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในประเทศให้คงอยู่ และเป็นประโยชน์ให้แก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป
4. การส่งเสริม
เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการควบคุมดูแลรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตที่อาจถูกทำลายได้ โดยการสนับสนุนอาจทำได้หลายวิธี เช่น การรณรงค์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ การให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม การฝึกอบรมแนวทางการอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นต้น โดยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงนี้ได้มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ (Research and Training Center on Nature Conservation) เพื่อเป็นศูนย์ความรู้แก่ประเทศกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในการพัฒนาและสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ และแนวทางการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากที่มีอยู่ในพื้นถิ่นลุ่มแม่น้ำโขงอย่างเหมาะสม
5. การทดแทน
ในธรรมชาติระบบนิเวศที่ถูกบุกรุกและทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่จนสามารถกลับมาเป็นระบบนิเวศที่สมดุลดังเดิมได้ แต่การเปลี่ยนแปลงแทนที่นั้นอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานหลายร้อยปี แต่มนุษย์จะสามารถมีส่วนช่วยให้ระบบนิเวศเกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่ไปสู่จุดสมดุลได้เร็วขึ้น ด้วยการปลูกพืชที่เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่าง ๆ ในระบบนิเวศทดแทนระบบนิเวศเดิมที่ถูกทำลายลงไป เช่น การสร้างแนวปะการังเทียม การปลูกป่า เป็นต้น


ถ้าชอบบทความนี้ กด Like เลย :การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่น

 1,989 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 09/07/2012


 ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่




× แจ้งเตือน! เราสนับสนุนทุกความคิดเห็น ที่ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

เนื้อหาที่เกี่ยวช้อง

  อยากได้รวมเว็บการ์ดยูกิGX ครับ ถามเมื่อ (2011-08-18)   3,287 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 1 นาที)

  วิธีสมัครเว็บunfaced ถามเมื่อ (2011-10-05)   3,030 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 2 นาที)

  ฉันกำลังจะตาย วงซิล ถามเมื่อ (2011-09-14)   2,284 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 7 นาที)

  การพิจารณาเคลมสินไหมของบริษัทประกันภัยชอบใช้บริษัทสำรวจภัยที่สามารถกดยอดเคลมผู้เอาประกันภัย จะทำอย่างไงดี ถามเมื่อ (2011-08-10)   2,249 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 8 นาที)

  เพลงความเศร้าแห่งสงครามเพลงประกอบภาพยนต์สมเด็จพระนเรศวร 4 ถามเมื่อ (2011-08-15)   2,113 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 12 นาที)

  Windows Canon ละเมิดลิขสิทธิ์ ทาง Microsoft รึเปล่า ถามเมื่อ (2011-07-31)   2,022 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 13 นาที)

  ความเสี่ยงALMด้านประกันชีวิตคืออะไร ถามเมื่อ (2011-08-21)   2,000 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 14 นาที)

  เกาะอะไรใหญ่ที่สุด ถามเมื่อ (2011-10-10)   2,872 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 16 นาที)

  หวยลาวจะออกอะไร ถามเมื่อ (2012-04-23)   3,391 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 18 นาที)

  ควรเลือกซื้อต้นไม้อะไรดีในการจัดสวนค่ะ ถามเมื่อ (2011-09-23)   2,003 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 19 นาที)


 

บ้านเดียวกันดอทคอม เว็บถามตอบ รวมทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีสาระ
www.ban1gun.com