ประวัตินาฏศิลป์ประเทศมาเลเซีย
นาฏศิลป์มาเลเชีย คือ
เป็นนาฏศิลป์ที่มีลักษณะคล้ายกับนาฏศิลป์ชวา ซันตน และบาหลีมาก นาฏศิลป์ซันตนและบาหลีก็
ได้รับอิทธิพลมาจากมาเลเชีย ซึ่งได้รับอิทธิพลตกทอดมาจากพวกพราหมณ์ของอินเดียอีกทีหนึ่ง ต่อมาภายหลัง
นาฏศิลป์บาหลี จะเป็นระบบอิสรามมากกว่าอินเดีย เดิมมาเลเซียได้รับหนังตะลุงมาจากชวา และได้รับอิทธิพล
บางส่วนมาจากอุปรากรจีน มีละครบังสวันเท่านั้นที่เป็นของมาเลเซียเอง
ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 20 ชวามีอิทธิพลและครอบครองมาเลเซียตอนใต้เป็นเมืองขึ้นของสุลต่าน
มายาปาหิตแห่งชวา ที่มะละกานั้นเป็นตลาดขายเครื่องเทศที่ใหญ่ที่สุดของชวา ชาวมาเลเซียใช้ภาษาพูดถึง 3
ภาษา คือมาลายู ชวา และภาษาจีน ซึ้งมีทั้งแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน และกวางตุ้ง
ชาวมาเลเซียรับหนังตะลุงจากชวา แต่ก็ได้ดัดแปลงจนเป็นของมาเลเซียไป รวมทั้งภาษาพูดมาเลเซียอีก
ด้วย
นาฏศิลป์มาเลเชียที่ควรรู้จัก
1. ละครบังสวันของมาเลเซีย เป็นละครที่สันนิษฐานได้ว่าจะเกิดขึ้นในศตวรรษปัจจุบันนี้ เรื่องที่แสดง
มักนิยมนำมาจากประวัติศาสตร์มาเลเซีย ละครบังสวันยังมีหลายคณะ ปัจจุบันนี้เหลืออยู่ 2 คณะ
ละครบังสวันเป็นละครพูดที่มีการร้องเพลงร่ายรำสลับกันไป ผู้แสดงมีทั้งชายและหญิง เนื้อเรื่องตัดตอน
มาจากประวัติศาสตร์ของอาหรับและมาเลเซีย ปัจจุบันมักใช้เรื่องในชีวิตประจำวันของสังคมแสดง เวลาตัวละคร
ร้องเพลงมีดนตรีคลอ สมัยก่อนใช้เครื่องดนตรีพื้นเมือง สมัยนี้ใช้เปียโน กลอง กีตาร์ ไวโอลิน แซกโซโฟนเป็น
ต้น ไม่มีลูกคู่ออกมาร้องเพลง การร่ายรำมีมาผสมบ้าง แต่ไม่มีความสำคัญมากนัก ตัวละครแต่งตัวตามสมัยและ
ฐานะของตัวละครในเรื่องนั้นๆ ถ้าเป็นประวัติศาสตร์ก็จะแต่งตัวมากแบบพระมหากษัตริย์ และจะแต่งหน้าแต่
พองามจากธรรมชาติ แสดงบนเวที เวทีทำเป็นยกพื้น ซึ่งสร้างชั่วคราว มีการชักฉากและมีหลืบ แสดงเวลา
กลางคืนและใช้เวลาแสดงเรื่องละ 3-5 ชั่วโมง
2. เมโนราทหรือมโนห์รา คือ นาฏศิลป์ที่จัดว่าเป็นละครรำ ผู้แสดงจะต้องร่ายรำออกท่าทางตรงตาม
บทบาท ลีลาการรำอ่อนช้อยสวยงาม ละครรำแบบนี้จะพบที่รัฐกลันตันโดยเฉพาะเท่านั้นที่อื่นหาดูได้ยาก ตาม
ประวัติศาสตร์กล่าวกันว่า ละครรำแบบนี้มีมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรลิกอร์ (Ligor) ประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว การ
เจรจา การร้องบทในเวลาแสดงใช้ภาษามาเล ตัวละครเมโนรานี้ใช้ผู้ชายแสดงทั้งหมด การแต่งกายของตัวละคร
จะมีลักษณะแปลก คือมีการใส่หน้ากากรูปทรงแปลกๆ หน้ากากนั้นทาสีสันฉูดฉาดบาดตาเป็นรูปหน้าคน หน้า
ยักษ์ หน้าปีศาจ หน้ามนุษย์นั้นมีสีซีดๆ แลดูน่ากลัว เวลาแสดงสมหน้ากากเต้นเข้าจังหวะดนตรี ตัวละครคล้าย
โขน นิยมแสดงเรื่องจักรๆวงศ์ๆ ส่วนละครพื้นบ้าน เครื่องดนตรีที่บรรเลงในระหว่างการแสดงคือ กลอง 2 หน้า
และกลองหน้าเดียว นอกจานั้นมีฆ้องราว ฆ้องวง ขลุ่ย ปี่
3. แมกยอง (Magyong) มีลักษณะการแสดงเป็นเรื่องราวแบบละคร คล้ายโนราห์ และหนังตะลุงของ
ไทย แมกยองเป็นศิลปะพื้นเมืองที่มีชื่อในหมู่ชาวกลันตัน ตรังกานู การแสดง จะมีผู้หญิงกลุ่มหนึ่ง
เรียกว่า Jong Dondang จะออกมาเต้นรำเบิกโรง หลังจากนั้นก็เริ่มซึ่งเรื่องที่จะแสดงจะเกี่ยวกับวรรณคดี
4.1 ระบำซาปิน เป็นการแสดงฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของมาเลเซียโบราณ
4.2 ระบำดรดัต เป็นการเต้นรำพื้นเมือง ชุดนี้เป็นการเต้นในเทศกาลประเพณีทางศาสนา
4.3 ระบำอาชัค เป็นการรำอวยพรที่เก่าแก่ในราชสำนักของมาเลเซียในโอกาสที่ต้อนรับราชอันตุกะ
4.4 ระบำอัสรี เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงในราชสำนักมาเลเซีย ซึ่งแสดงออกถึงการเกี้ยวพาราสีอย่าง
สนุกสนานของหนุ่มสาวมาเลเซีย
4.5 ระบำสุมาชาว เป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวมาเลเซียตะวันออก ได้แก่ แถบซาบาร์ การแสดงชุดนี้
ชาวพื้นเมืองกำลังรื่นเริงกันในฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว
4.6 ว่าวบุหลัน (ระบำว่าวรูปพระจันทร์) สำหรับการแสดงชุดนี้เป็นการประดิษฐ์ท่าทาง และลีลาให้ดู
คล้ายกับว่าว
4.7 จงอีหนาย เป็นการรื่นเริงของชาวมาเลเซียหลังจากเก็บเกี่ยวจะช่วยกันสีข้าวและฝัดข้าวซึ่งจะเรียก
ระบำนี้ว่าระบำฝัดข้าว
4.8 เคนยาลัง เป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวซาบาร์ในมาเลเชียตะวันออก การแสดงชุดนี้เป็นลีลาการ
แสดงที่คล้ายกับการบินของนกเงือก
4.9 ทดุง ซะจี หรือระบำฝาชี
4.10 โจเก็ต เป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองที่ชาวมาเลเซียนิยมเต้นกันทั่วๆไปเช่นเดียวกับรำวงของไทย
4.11 ยาลาดัน เป็นการแสดงที่ได้รับอิทธิพลมาจากพ่อค้าชาวอาหรับ ลีลาท่าทางบางตอนคล้ายกับ
ภาพยนตร์อาหรับราตรี
4.12 อีนัง จีนา คือ ระบำสไบของชาวมาเลเซีย ปกติหญิงสาวชาวมาเลเซียจะมีสไบคลุมศรีษะเมื่อถึง
คราวสนุกสนานก็จะนำสไบนี้ออกมาร่ายรำ
4.13 การเดี่ยวแอคโคเดียนและขับร้องเพลง “คาตาวา ลากี” ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่ามาสนุกเฮฮา เพลงนี้
นิยมขับร้องกันแถบมะละกา
4.14 ลิลิน หรือระบำเทียนของมาเลเซีย
4.15 เดมปรุง (ระบำกะลา) เมื่อเสร็จจากการเก็บเกี่ยว ชาวมาเลย์จะมีงานรื่นเริง บ้างก็ขูดมะพร้าวและตำน้ำพริก จึงนำกะลามะพร้าวมาเคาะประกอบจังหวะกันอย่างสนุกสนาน