ผาแต้ม จ อุบลราชธานี ประวัติความเป็นมา  สร้างคำถาม

 2,483 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 12/09/2011

ผาแต้ม จ อุบลราชธานี ประวัติความเป็นมา

ในอดีต ชาวบ้านท้องถิ่นที่ทำกินในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าภูผา น้อยคนนักที่จะเดินทางเข้าไปในป่าดังกล่าว เนื่องจากมีความเชื่อว่า “ผาแต้มเป็นเขตต้องห้าม ภูผาเหล่านี้มีความศักดิ์สิทธิ์นักเป็นภูผาแห่งความตาย ใครล่วงล้ำเข้าไปมักมีอันเป็นไป อาจเจ็บไข้หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ” พื้นที่ป่าภูผาบริเวณผาแต้มได้ถูกเปิดเผยจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เมื่อคณะอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากรได้มาทำการสำรวจและค้นพบภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม ท้องที่บ้านกุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบกับสภาพป่าในบริเวณใกล้เคียงยังอุดมสมบูรณ์ จึงได้ทำหนังสือบันทึกจากภาควิชาฯ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2524 เสนอต่อ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ขอให้จัดตั้งป่าภูผาในบริเวณผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งกองอุทยานแห่งชาติได้ให้ นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดงหินกอง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ) ไปทำการสำรวจหา
ข้อมูลเพิ่มเติม ปรากฏว่า พื้นที่บริเวณที่ขอให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าภูผา ปรากฏภาพเขียนสีโบราณซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม สภาพป่าบริเวณใกล้เคียงยังไม่ถูกทำลาย และมีจุดเด่นตามธรรมชาติที่สวยงามการคมนาคมสะดวก เหมาะที่จะตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเห็นสมควรผนวก บริเวณดังกล่าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติดงหินกอง กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1162/2524 ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2524 ให้นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ (ดงหินกอง)ไปดำเนินการควบคุมดูแลรักษาป่าภูผา โดยให้พิจารณาผนวกเข้ากับอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ โดยได้ประกาศรวมกับบริเวณป่าใกล้เคียงให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าดงภูโหล่น และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 90 ตอนที่ 153 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2526 ต่อมา กรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่า พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่คนละส่วนและอยู่ห่างไกลกับอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตลอดจนมีอาณาเขตกว้างขวางเกรงว่า อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จะดูแลไม่ทั่วถึง และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลตามโครงการอีสานเขียว และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการศึกษาหาความรู้ทางวิชาการ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 991/2532 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2532 ให้นายวรพล รันตสุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดง ภูโหล่น ท้องที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้า 90-92 เล่ม 108 ตอนที่ 245 ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2534 มีเนื้อที่ประมาณ 340 ตารางกิโลเมตร หรือ 212,500 ไร่ นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 74 ของประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ถ้าชอบบทความนี้ กด Like เลย :ผาแต้ม จ อุบลราชธานี ประวัติความเป็นมา

 2,483 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 12/09/2011


 ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่




× แจ้งเตือน! เราสนับสนุนทุกความคิดเห็น ที่ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

เนื้อหาที่เกี่ยวช้อง

  หญ้าปักกิ่ง เป็นอย่างไรค่ะ ถามเมื่อ (2013-05-25)   2,159 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 14 วินาที!!)

  ชาวเน็ตมึนคำถาม อยากให้พรุ่งนี้เป็นเมื่อวานจัง วันนี้จะได้เป็นวันศุกร์ มีคำตอบ ถามเมื่อ (2015-02-26)   1,639 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 41 วินาที!!)

  ทองคำขาว ต่างจากทองคำปรกติยังไง ถามเมื่อ (2012-04-24)   2,045 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 3 นาที)

  ยาพิษ คอร์ด ถามเมื่อ (2011-09-22)   2,974 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 4 นาที)

  ข้าวห่อสาหร่ายไข่กุ้ง ขอสูตรวิธีทำข้าวห่อสาหร่ายไข่กุ้งหน่อยค่ะ ชอบทานมากเลยค่ะ ถามเมื่อ (2011-10-26)   1,909 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 4 นาที)

  ประเทศที่ปลูกข้าวได้มากที่สุด คือ ถามเมื่อ (2014-12-01)   2,523 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 6 นาที)

  กีต้าร์โปร่ง YAMAHA F310 จำนำได้มั้ยคับ ถามเมื่อ (2016-05-24)   3,662 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 6 นาที)

  วิธีรับมือน้ำท่วม ถ้าน้ำท่วมจะทำอย่างไรดีค่ะ ถามเมื่อ (2011-10-26)   2,159 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 7 นาที)

  ประโยชน์ของภาษาไทย ถามเมื่อ (2012-03-01)   2,955 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 8 นาที)

  หวยวังปริงรอบเช้าออกอะไร ถามเมื่อ (2016-08-04)   1,068 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 10 นาที)


 

บ้านเดียวกันดอทคอม เว็บถามตอบ รวมทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีสาระ
www.ban1gun.com