การรำวงซึ่งแสดงถึงวิถีไทยอย่างไรบ้าง  สร้างคำถาม

 2,446 view  หมวดหมู่ : การศึกษา ประวัติศาสตร์  วันที่สร้าง : 13/07/2012

การรำวงซึ่งแสดงถึงวิถีไทยอย่างไรบ้าง

รำวงน่าจะเป็นวิถีของคนไทย เกือบทุกภาคไม่ว่าภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอิสาน ภาคใต้
รำวง (Ramwong) เป็นการละเล่นของชาวบ้านที่ร่วมเล่นกันเพื่อความสนุกสนานและความสามัคคี แต่เดิมเรียกว่า “รำโทน” เนื่องจากใช้โทนตีประกอบจังหวะในการรำ ต่อมาเพิ่มกรับและ ฉิ่ง แต่ยังไม่มีการขับร้องประกอบในการรำ คงรำไปตามจังหวะโทนอย่างเดียว ลักษณะการรำโทนรำเป็นคู่ ๆ เดินเป็นวงกลม ใช้ท่ารำง่าย ๆ สุดแท้แต่ใครจะรำหรือทำท่าใด ไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ ขอเพียงแต่ย่ำเท้าให้ลงตามจังหวะโทน

ต่อมาการเล่น “รำโทน” ได้พัฒนามาเป็น “รำวง” ลักษณะการรำวง คือ มีโต๊ะตั้งกลางวง ชาย – หญิงรำเป็นคู่ ๆ เดินเป็นวงกลมอย่างมีระเบียบ แต่ยังคงยึดจังหวะโทนเป็นหลัก มีการ ขับร้องเพลงประกอบในการรำ เรียกว่า “รำวงพื้นบ้าน” การรำวงนี้นิยมเล่นในงานเทศกาล หรือเล่นกันเองด้วยความสนุกสนาน เนื้อหาสาระของเพลงรำวงพื้นเมือง นอกจากให้ความบันเทิงแล้วยังสอดแทรกอารมณ์ ความรู้ ขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เพลงช่อมาลี เธอรำช่างน่าดู หล่อจริงนะดารา ตามองตา ยวนยาเหล ใกล้เข้าไปอีกนิด ฯลฯ

ต่อมาในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2487 ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร ปรับปรุงการเล่นรำวงพื้นบ้าน ให้มีระเบียบเรียบร้อย เป็นแบบฉบับอันดีงามของนาฏศิลป์ไทยและเพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการละเล่นพื้นเมือง กรมศิลปากรจึงแต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่ 4 เพลง คือ งามแสงเดือน ชาวไทย คืนเดือนหงาย และรำมาซิมารำ พร้อมทั้งปรับปรุงเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการเล่นรำวงมาเป็นวงปี่พาทย์หรือวงดนตรีสากล

บทเพลงรำวงมาตรฐานนี้ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งบทร้องอีก 6 เพลง คือ ดวงจันทร์วันเพ็ญ ดอกไม้ของชาติ หญิงไทยใจงาม ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ยอดชายใจหาญ และ บูชานักรบ

ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลงรำวงทั้ง 10 เพลงนั้น คือ คณะอาจารย์ด้านนาฏศิลป์ของกรมศิลปากร ได้ช่วยกันคิดประดิษฐ์ท่ารำให้งดงามถูกต้องตามหลักนาฏศิลป์ กำหนดให้เป็นแบบมาตรฐาน ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำของรำวงมาตรฐาน คือ หม่อมต่วน (นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) ครูมัลลี คงประภัทร์ ครูลมุล ยมะคุปต์ และครูผัน โมรากุล ต่อมาได้มีการนำรำวงนี้ไปสลับกับวงลีลาศ ทำให้ชาวต่างประเทศรู้จักรำวง เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้เล่นกันแพร่หลาย และมีแบบแผนอันเดียวกัน กรมศิลปากรจึงเรียกว่า “รำวงมาตรฐาน”


ถ้าชอบบทความนี้ กด Like เลย :การรำวงซึ่งแสดงถึงวิถีไทยอย่างไรบ้าง

 2,446 view  หมวดหมู่ : การศึกษา ประวัติศาสตร์  วันที่สร้าง : 13/07/2012


 ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่




× แจ้งเตือน! เราสนับสนุนทุกความคิดเห็น ที่ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

เนื้อหาที่เกี่ยวช้อง

  อัคคัญญสูตรการคัดเลือกผู้นำ ถามเมื่อ (2012-04-20)   2,871 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 29 นาที)

  การนับศักราชแบบไทยมีอะไรบ้าง ถามเมื่อ (2011-10-13)   2,585 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 83 นาที)

  ประวัติแคว้นพะเยา ถามเมื่อ (2012-08-16)   3,818 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 106 นาที)

  ประวัติศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร ถามเมื่อ (2020-01-10)   1,340 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 107 นาที)

  ประวัติวอลเลย์บอลชายหาดที่เข้ามาในประเทศไทย ถามเมื่อ (2012-06-04)   2,744 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 107 นาที)

  ประวัติย่าโมแปลเป็นภาษาอังกฤษ ถามเมื่อ (2014-05-27)   3,637 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 108 นาที)

  เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่1พุทธศักราชเทียบกับจุลสักราชเท่าใด ถามเมื่อ (2013-11-29)   3,014 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 150 นาที)

  ลูกโลก ข้อดี ข้อเสีย ถามเมื่อ (2023-01-12)   1,299 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 221 นาที)

  หลักฐานชั้นต้นหมายถึงอะไร ถามเมื่อ (2011-10-07)   8,901 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 357 นาที)

  ยุคหิน แบ่งย่อยออกเป็นกี่ยุค ถามเมื่อ (2011-10-13)   3,193 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 399 นาที)


 

บ้านเดียวกันดอทคอม เว็บถามตอบ รวมทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีสาระ
www.ban1gun.com