ขั้นตอนการฟังและดูอย่างมีวิจรณญาณ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง  สร้างคำถาม

 6,763 view  หมวดหมู่ : การศึกษา ภาษาไทย  วันที่สร้าง : 07/08/2012

ขั้นตอนการฟังและดูอย่างมีวิจรณญาณ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

หลักในการแยกแยะข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น


เนื่องจากในการฟังแต่ละเรื่อง ผู้พูดจะพูดทั้งข้อเท็จจริง ประกอบกับข้อคิดเห็น หากผู้ฟังไม่แยกแยะข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นออกจากกัน อาจก่อให้เกิดความสับสนในการนำแนวคิดที่ได้ ไปใช้ในชีวิตประจำวันก็เป็นได้


ข้อเท็จจริง คือ ข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ได้ อาจจะเป็นข้อมูลเชิงทฤษฎี หรือข้อมูลตัวเลข ที่สามารถตรวจสอบว่าจริงหรือเท็จได้


ข้อคิดเห็น เป็นเรื่องที่เกิดจากความคิดเห็น อาจจะเป็นการคาดคะเน การทำนาย การตั้งสมมติฐาน ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล ข้อมูลชนิดนี้ ควรใช้วิจารณญาณในการรับฟัง ส่วนจะสนับสนุนหรือขัดแย้ง ก็เป็นสิทธิของผู้ฟัง แต่ควรอยู่ในกรอบของเหตุและผล





การฟังเพื่อประเมินค่า


การฟังเพื่อประเมินค่า เป็นการตรวจสอบสิ่งที่ฟัง ว่ามีเหตุผลหรือไม่ เชื่อถือได้หรือไม่ การฟังประเภทนี้ เป็นการแสดงความคิดเห็น ต่อข้อมูลที่ได้รับว่าจริงหรือไม่ มีลักษณะเป็นการเผยแพร่ความคิด เพื่อโน้มน้าวผู้ฟังให้คล้อยตาม ซึ่งจะต้องพิจารณาในหลายๆด้านอย่างรอบคอบ คือ “


๑. วิเคราะห์เจตนาของผู้พูด ว่าผู้พูดมีจุดมุ่งหมายหรือเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง

๒. เจตนาผู้พูดเพื่อความบันเทิง เช่นการพูดในงานพบปะสังสรรค์กันเพื่อให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริง

๓. เจตนาผู้พูดอาจเป็นการบอกเล่า แถลงการณ์รายงานเรื่องราวต่างๆ เป็นการบอกเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน บรรยายเกี่ยวกับทางวิชาการ เล่าเหตุการณ์ที่ได้พบเห็นประสบมาเพื่อให้ผู้อื่นได้มีความรู้ความเข้าใจ

๔. ผู้พูดอาจมีเจตนาในการพูดเพื่อชักจูงให้เห็นให้คล้อยตามหรือเปลี่ยนความคิดให้ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้พูดจะยกเหตุผลต่างๆ ให้ผู้ฟังเชื่อถือ

๕. วิเคราะห์นัยของเรื่องที่ฟัง คือการพิจารณาสาระสำคัญของเรื่องที่ฟัง ว่าประเด็นหลักคืออะไร ผู้พูดอาจจะพูดออกมาตรงๆก็ได้ หรืออาจมีจุดมุ่งหมายแอบแฝงอยู่ผู้ฟังจะต้องวิเคราะห์นัยสำคัญและนัยแฝง โดยอาศัยความรู้ความสามารถของผู้ฟังในการพิจารณาดังนี้

๕.๑. ข้อมูลและความคิดเห็นของผู้พูดจะต้องอาศัยเหตุผลในการพิจารณาดังนี้

๕.๑.๑. ข้อมูลที่รับฟังนั้นมีความจริงมากน้อยเพียงใดเป็นข้อมูลเก่าหรือข้อมูลใหม่ หรือว่าเป็นความจริงตามหลักตรรกวิทยา ซึ่งผู้ฟังจะต้องแยกแยะพิจารณาความเป็นไปได้ของข้อมูลและเจตคติของผู้พูดในบางครั้งข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นของผู้พูดจะแยกกันอย่างเห็นได้ชัดเจนแต่บางครั้งผู้พูดจะพูดผสมผสานข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นของตนเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงต้องแยกแยะออกจากกันให้ชัดเจน การโฆษณาชวนเชื่อ เป็นการพูดให้ผู้ฟังเชื่อและปฏิบัติตาม ผู้ฟังจะต้องพิจารณาแยกแยะให้ได้ว่า แนวทางที่ผู้พูดเสนอมานั้น หากปฏิบัติตามแล้วจะเกิดผลอย่างไรเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือต่อผู้ฟังอย่างไรบ้าง

๕.๑.๒. ความสำคัญและความเป็นมาของเรื่อง ว่าผู้พูดได้แสดงความสำคัญ ตลอดจนความเป็นมาของเรื่องอย่างไรเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้ฟังจะได้ประโยชน์หรือไม่

๕.๒. เนื้อหาสาระผู้พูดได้พูดได้ชัดเจนและพูดไปตามลำดับความสำคัญ ความยากง่ายของเรื่องหรือพูดออกนอกประเด็น ยกตัวอย่างได้ชัดเจนเพียงใด ” (หลักสำคัญในการฟัง:โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ)





การฟังเพื่อตัดสินใจ


“การฟังเพื่อตัดสินใจการฟังเพื่อตัดสินใจเป็นกระบวนการฟังชั้นสูง ผู้ฟังมีความสามารถจะตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดที่ได้จากการฟังนำไปใช้ให้เกิดแประโยชน์ หรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน ผู้ฟังจะต้องรู้จักใช้กระบวนการคิดช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหา หรือเลือกแนวทางในการนำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง กระบวนการคิดที่เป็นระบบนั้นต้องประกอบด้วยข้อมูลสามด้าน คือ


๑. ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ต้องรู้จักตนเองอย่างท่องแท้ โดยพิจารณาข้อมูลทุกด้าน เช่นด้านสุขภาพร่างกาย ความรู้ วัยสถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจเป็นต้น

๒. ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม คือพิจารณาผู้อื่น สิ่งอื่นๆเช่นสภาพแวดล้อทางชุมชน ภูมิประเทศคุณธรรม ศีลธรรมจรรยาค่านิยม สังคมตลอดจนธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น

๓. นำข้อมูลเกี่ยวกับด้านวิชาการมาพิจารณาร่วมด้วยเพื่อตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ถูกต้อง” (หลักสำคัญในการฟัง:โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ)





การใช้วิจารณญาณในการรับฟังสารประเภทต่างๆ


คนเราเมื่อได้ฟังสิ่งใดแล้ว จะต้องใช้วิจารณญาณในการฟัง จึงจะเข้าใจความหมายของสารได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะต้องจับใจความสำคัญ แยกแยะข้อเท็จจริง – ข้อคิดเห็น วิเคราะห์แง่คิดของเรื่องที่ฟัง การนำไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น การใช้วิจารณญาณในการรับฟังสาร สามารถแบ่งตามชนิดของสารได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ


๑. สารที่ให้ความรู้ จะต้องฟังด้วยความตั้งใจ จับประเด็นให้ได้เมื่อฟังแล้วจะต้องพิจาณาตามไปตลอดเวลา และต้องทำความเข้าใจกับสารด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ความหมายของสารผิดเพี้ยน ซึ่งจะต้องใช้วิจารณญาณ ดังนี้

Ø การแยกแยะข้อเท็จจริง – ข้อคิดเห็น

Ø การพิจารณาความน่าเชื่อถือ

Ø การบันทึกประเด็นสำคัญ

Ø การประเมินประโยชน์ และคุณค่าที่ได้รับจากสาร

Ø การพิจารณาผู้พูด

๒. สารที่โน้มน้าวใจ เป็นสารที่ชักจูงใจผู้ฟัง ให้ไปสนับสนุนผู้พูด จึงควรใช้วิจารณญาณพิจารณาในแง่ต่างๆ ดังนี้

Ø พิจารณาการดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง

Ø พิจารณาว่าสารนั้นสนองความต้องการของผู้ฟังอย่างไร

Ø พิจารณาแนวทางที่ผู้พูดจะสนองความต้องการของผู้ฟัง

Ø พิจารณาว่าผู้พูด ต้องการให้ผู้ฟังคิดอะไร

Ø พิจารณาภาษาที่ใช้โน้มน้าวใจ

๓. สารที่จรรโลงใจ เป็นสารที่ช่วยผ่อนคลาย ทำให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการ เกิดความซาบซึ้ง และยกระดับจิตใจของผู้ฟัง ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้

Ø ฟังด้วยความตั้งใจ แต่อย่าให้ความเคร่งเครียด

Ø ทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่สำคัญ

Ø ใช้จินตนาการประกอบ แต่ต้องตรงกับจุดประสงค์ของสาร

Ø พิจารณาว่าสารนั้น จรรโลงใจในแง่ใด อย่างไร สมเหตุสมผลหรือไม่

Ø พิจารณาภาษาที่ใช้


ถ้าชอบบทความนี้ กด Like เลย :ขั้นตอนการฟังและดูอย่างมีวิจรณญาณ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

 6,763 view  หมวดหมู่ : การศึกษา ภาษาไทย  วันที่สร้าง : 07/08/2012


 ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่




× แจ้งเตือน! เราสนับสนุนทุกความคิดเห็น ที่ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

เนื้อหาที่เกี่ยวช้อง

  โวหารมีกี่ประเภท ถามเมื่อ (2013-04-30)   19,619 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 8 วินาที!!)

  เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย ถามเมื่อ (2021-06-29)   1,073 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 25 วินาที!!)

  หนอนหนังสือ สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย ถามเมื่อ (2016-11-16)   2,800 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 3 นาที)

  ท่าดีทีเหลว สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย ถามเมื่อ (2016-11-03)   1,157 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 4 นาที)

  จุดมุ่งหมายของการอภิปราย คืออะไรบ้าง ถามเมื่อ (2019-08-26)   2,103 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 7 นาที)

  เป็นเงาตามตัว สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย ถามเมื่อ (2016-12-09)   1,125 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 10 นาที)

  ดอกกระดังงาไทยไม่ลนไม่หอม ในหมวด สำนวน สุภาษิต คำพังเพย หมายถึงอะไร ถามเมื่อ (2014-12-01)   1,360 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 11 นาที)

  คำศัพท์ที่มักเขียนผิด ถามเมื่อ (2023-09-11)   263 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 14 นาที)

  สมน้ำสมเนื้อ สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย ถามเมื่อ (2016-11-15)   1,081 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 14 นาที)

  ปากเหยี่ยวปากกา สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย ถามเมื่อ (2016-12-09)   1,124 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 14 นาที)


 

บ้านเดียวกันดอทคอม เว็บถามตอบ รวมทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีสาระ
www.ban1gun.com