ประวัตินาฏศิลป์มาเลเซีย  สร้างคำถาม

 5,808 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 06/11/2012

ประวัตินาฏศิลป์มาเลเซีย

นาฏศิลป์มาเลเชีย คือ

เป็นนาฏศิลป์ที่มีลักษณะคล้ายกับนาฏศิลป์ชวา ซันตน และบาหลีมาก นาฏศิลป์ซันตนและบาหลีก็
ได้รับอิทธิพลมาจากมาเลเชีย ซึ่งได้รับอิทธิพลตกทอดมาจากพวกพราหมณ์ของอินเดียอีกทีหนึ่ง ต่อมาภายหลัง
นาฏศิลป์บาหลี จะเป็นระบบอิสรามมากกว่าอินเดีย เดิมมาเลเซียได้รับหนังตะลุงมาจากชวา และได้รับอิทธิพล
บางส่วนมาจากอุปรากรจีน มีละครบังสวันเท่านั้นที่เป็นของมาเลเซียเอง

ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 20 ชวามีอิทธิพลและครอบครองมาเลเซียตอนใต้เป็นเมืองขึ้นของสุลต่าน
มายาปาหิตแห่งชวา ที่มะละกานั้นเป็นตลาดขายเครื่องเทศที่ใหญ่ที่สุดของชวา ชาวมาเลเซียใช้ภาษาพูดถึง 3
ภาษา คือมาลายู ชวา และภาษาจีน ซึ้งมีทั้งแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน และกวางตุ้ง

ชาวมาเลเซียรับหนังตะลุงจากชวา แต่ก็ได้ดัดแปลงจนเป็นของมาเลเซียไป รวมทั้งภาษาพูดมาเลเซียอีก
ด้วย

นาฏศิลป์มาเลเชียที่ควรรู้จัก

1. ละครบังสวันของมาเลเซีย เป็นละครที่สันนิษฐานได้ว่าจะเกิดขึ้นในศตวรรษปัจจุบันนี้ เรื่องที่แสดง
มักนิยมนำมาจากประวัติศาสตร์มาเลเซีย ละครบังสวันยังมีหลายคณะ ปัจจุบันนี้เหลืออยู่ 2 คณะ

ละครบังสวันเป็นละครพูดที่มีการร้องเพลงร่ายรำสลับกันไป ผู้แสดงมีทั้งชายและหญิง เนื้อเรื่องตัดตอน
มาจากประวัติศาสตร์ของอาหรับและมาเลเซีย ปัจจุบันมักใช้เรื่องในชีวิตประจำวันของสังคมแสดง เวลาตัวละคร
ร้องเพลงมีดนตรีคลอ สมัยก่อนใช้เครื่องดนตรีพื้นเมือง สมัยนี้ใช้เปียโน กลอง กีตาร์ ไวโอลิน แซกโซโฟนเป็น
ต้น ไม่มีลูกคู่ออกมาร้องเพลง การร่ายรำมีมาผสมบ้าง แต่ไม่มีความสำคัญมากนัก ตัวละครแต่งตัวตามสมัยและ
ฐานะของตัวละครในเรื่องนั้นๆ ถ้าเป็นประวัติศาสตร์ก็จะแต่งตัวมากแบบพระมหากษัตริย์ และจะแต่งหน้าแต่
พองามจากธรรมชาติ แสดงบนเวที เวทีทำเป็นยกพื้น ซึ่งสร้างชั่วคราว มีการชักฉากและมีหลืบ แสดงเวลา
กลางคืนและใช้เวลาแสดงเรื่องละ 3-5 ชั่วโมง

2. เมโนราทหรือมโนห์รา คือ นาฏศิลป์ที่จัดว่าเป็นละครรำ ผู้แสดงจะต้องร่ายรำออกท่าทางตรงตาม
บทบาท ลีลาการรำอ่อนช้อยสวยงาม ละครรำแบบนี้จะพบที่รัฐกลันตันโดยเฉพาะเท่านั้นที่อื่นหาดูได้ยาก ตาม
ประวัติศาสตร์กล่าวกันว่า ละครรำแบบนี้มีมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรลิกอร์ (Ligor) ประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว การ
เจรจา การร้องบทในเวลาแสดงใช้ภาษามาเล ตัวละครเมโนรานี้ใช้ผู้ชายแสดงทั้งหมด การแต่งกายของตัวละคร
จะมีลักษณะแปลก คือมีการใส่หน้ากากรูปทรงแปลกๆ หน้ากากนั้นทาสีสันฉูดฉาดบาดตาเป็นรูปหน้าคน หน้า
ยักษ์ หน้าปีศาจ หน้ามนุษย์นั้นมีสีซีดๆ แลดูน่ากลัว เวลาแสดงสมหน้ากากเต้นเข้าจังหวะดนตรี ตัวละครคล้าย
โขน นิยมแสดงเรื่องจักรๆวงศ์ๆ ส่วนละครพื้นบ้าน เครื่องดนตรีที่บรรเลงในระหว่างการแสดงคือ กลอง 2 หน้า
และกลองหน้าเดียว นอกจานั้นมีฆ้องราว ฆ้องวง ขลุ่ย ปี่

3. แมกยอง (Magyong) มีลักษณะการแสดงเป็นเรื่องราวแบบละคร คล้ายโนราห์ และหนังตะลุงของ
ไทย แมกยองเป็นศิลปะพื้นเมืองที่มีชื่อในหมู่ชาวกลันตัน ตรังกานู การแสดง จะมีผู้หญิงกลุ่มหนึ่ง
เรียกว่า Jong Dondang จะออกมาเต้นรำเบิกโรง หลังจากนั้นก็เริ่มซึ่งเรื่องที่จะแสดงจะเกี่ยวกับวรรณคดี

4.1 ระบำซาปิน เป็นการแสดงฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของมาเลเซียโบราณ

4.2 ระบำดรดัต เป็นการเต้นรำพื้นเมือง ชุดนี้เป็นการเต้นในเทศกาลประเพณีทางศาสนา

4.3 ระบำอาชัค เป็นการรำอวยพรที่เก่าแก่ในราชสำนักของมาเลเซียในโอกาสที่ต้อนรับราชอันตุกะ

4.4 ระบำอัสรี เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงในราชสำนักมาเลเซีย ซึ่งแสดงออกถึงการเกี้ยวพาราสีอย่าง
สนุกสนานของหนุ่มสาวมาเลเซีย

4.5 ระบำสุมาชาว เป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวมาเลเซียตะวันออก ได้แก่ แถบซาบาร์ การแสดงชุดนี้
ชาวพื้นเมืองกำลังรื่นเริงกันในฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว

4.6 ว่าวบุหลัน (ระบำว่าวรูปพระจันทร์) สำหรับการแสดงชุดนี้เป็นการประดิษฐ์ท่าทาง และลีลาให้ดู
คล้ายกับว่าว

4.7 จงอีหนาย เป็นการรื่นเริงของชาวมาเลเซียหลังจากเก็บเกี่ยวจะช่วยกันสีข้าวและฝัดข้าวซึ่งจะเรียก
ระบำนี้ว่าระบำฝัดข้าว

4.8 เคนยาลัง เป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวซาบาร์ในมาเลเชียตะวันออก การแสดงชุดนี้เป็นลีลาการ
แสดงที่คล้ายกับการบินของนกเงือก

4.9 ทดุง ซะจี หรือระบำฝาชี

4.10 โจเก็ต เป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองที่ชาวมาเลเซียนิยมเต้นกันทั่วๆไปเช่นเดียวกับรำวงของไทย

4.11 ยาลาดัน เป็นการแสดงที่ได้รับอิทธิพลมาจากพ่อค้าชาวอาหรับ ลีลาท่าทางบางตอนคล้ายกับ
ภาพยนตร์อาหรับราตรี

4.12 อีนัง จีนา คือ ระบำสไบของชาวมาเลเซีย ปกติหญิงสาวชาวมาเลเซียจะมีสไบคลุมศรีษะเมื่อถึง
คราวสนุกสนานก็จะนำสไบนี้ออกมาร่ายรำ

4.13 การเดี่ยวแอคโคเดียนและขับร้องเพลง “คาตาวา ลากี” ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่ามาสนุกเฮฮา เพลงนี้
นิยมขับร้องกันแถบมะละกา

4.14 ลิลิน หรือระบำเทียนของมาเลเซีย

4.15 เดมปรุง (ระบำกะลา) เมื่อเสร็จจากการเก็บเกี่ยว ชาวมาเลย์จะมีงานรื่นเริง บ้างก็ขูดมะพร้าวและตำน้ำพริก จึงนำกะลามะพร้าวมาเคาะประกอบจังหวะกันอย่างสนุกสนาน


ถ้าชอบบทความนี้ กด Like เลย :ประวัตินาฏศิลป์มาเลเซีย

 5,808 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 06/11/2012


 ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

#1.    อภิรักษ์
@ นาฏศิลป์ของมาเลเซีย

...............................................
#2.    อู๋ ม1.2 ลาดเป้ง
@ นาฏศิลป์ของมาเลเซีย

...............................................
#3.    fang fang
@ มาจากพราหณ์ ของอินเดีย

...............................................
#4.    คนน่ารัก
@ หาไม่เจอ

...............................................
#5.    Kisskissme Plause
@ การแต่งกายของนาฏศิลป์มาเลเซียเป็นยังไงค่ะ

...............................................



× แจ้งเตือน! เราสนับสนุนทุกความคิดเห็น ที่ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

เนื้อหาที่เกี่ยวช้อง

  วิธีออกกําลังกายเพิ่มความสูง ถามเมื่อ (2011-09-02)   2,426 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 1 นาที)

  ประวัติวันวาเลนไทน์ ภาษาอังกฤษพร้อมแปล ถามเมื่อ (2012-02-11)   1,966 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 2 นาที)

  ตลาดจำหน่ายกล้วยไม้แห่งใหญ่ที่สุดอยู่ที่ไหน ถามเมื่อ (2011-09-23)   2,093 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 3 นาที)

  บุหรี่ไฟฟ้า ราคาเท่าไร แล้วต้องใช้ยาเหมือน บารากุไหม แล้ว วิธีใช้ วิธีทำความสะอาด ถามเมื่อ (2011-09-19)   2,045 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 3 นาที)

  การเปลี่ยนแปลงระบบชอฟต์แวร์มีการเปลี่ยนแปลงกี่ครั้งและเปลี่ยนอย่างไร ถามเมื่อ (2012-06-19)   2,305 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 3 นาที)

  นายกขึ้นเครื่องบินสายการบินที่เท่าไหร่ค่ะหมายเลขเครื่องบินจร้า ถามเมื่อ (2011-09-15)   2,195 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 4 นาที)

  หน้าแปลน10Kหมายถึง ถามเมื่อ (2011-10-14)   9,901 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 4 นาที)

  facebook เราจะป้องกันไม่ให้ account facebook ของเราถูกระงับได้ยังไง ถามเมื่อ (2011-07-24)   2,553 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 4 นาที)

  มีเว็บที่มีรูปตัวการ์ตูนอาชีพต่างๆให้โหลดมั้ยครับ ถามเมื่อ (2011-09-01)   2,777 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 4 นาที)

  E20 คืออะไร ถามเมื่อ (2011-10-05)   2,468 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 5 นาที)


 

บ้านเดียวกันดอทคอม เว็บถามตอบ รวมทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีสาระ
www.ban1gun.com