ดาวเทียมที่ใช้ในปัจจุบันของไทยมีอะไรบ้าง แล้วมีประวัติยังไง  สร้างคำถาม

 2,710 view  หมวดหมู่ : การศึกษา วิทยาศาสตร์  วันที่สร้าง : 31/05/2013

ดาวเทียมที่ใช้ในปัจจุบันของไทยมีอะไรบ้าง แล้วมีประวัติยังไง

ปัจจุบัน ดาวเทียมไทยคม มีทั้งหมด 5 ดวง ใช้งานได้จริง 4 ดวง โดย 2 ใน 4 ดวงเป็นการใช้งานหลังหมดอายุที่คาดการณ์ และปลดระวางไปแล้ว 1 ดวง

ไทยคม 1

ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)
เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"
ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E
ไทยคม 2
ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E
ไทยคม 3

ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อปี 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E
ไทยคม 4

ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี [1]
ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E

ไทยคม 5
ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E
ไทยคม 6
ไทยคม6 เป็นดาวเทียมรุ่น สร้างโดย Space Exploration Technologies (SpaceX) มีน้ำหนัก3000 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV)

แหล่งอ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวเทียมไทยคม


ถ้าชอบบทความนี้ กด Like เลย :ดาวเทียมที่ใช้ในปัจจุบันของไทยมีอะไรบ้าง แล้วมีประวัติยังไง

 2,710 view  หมวดหมู่ : การศึกษา วิทยาศาสตร์  วันที่สร้าง : 31/05/2013


 ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่




× แจ้งเตือน! เราสนับสนุนทุกความคิดเห็น ที่ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

เนื้อหาที่เกี่ยวช้อง

  พันธุกรรมยีนคืออะไร ถามเมื่อ (2017-06-19)   886 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 11 นาที)

  รัฐวิสาหกิจมีกี่ประเภท ถามเมื่อ (2011-11-12)   2,274 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 20 นาที)

  วิธีทำยาใอซ์ ถามเมื่อ (2012-02-14)   2,541 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 25 นาที)

  เค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยหัวข้ออะไรบ้างครับ ถามเมื่อ (2015-05-28)   3,729 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 32 นาที)

  น้ำเลือดประกอบด้วยอะไรบ้าง ถามเมื่อ (2017-11-28)   1,474 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 41 นาที)

  ดาวเทียมธีออส เป็นดาวเทียมประเภทใด ถามเมื่อ (2016-08-05)   1,162 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 42 นาที)

  ถ้าดินแน่นแข็งและขาดแร่ธาตุอาหาร ควรทำอย่างไร ถามเมื่อ (2014-04-04)   2,114 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 54 นาที)

  ลิพิด คืออะไรค่ะ ถามเมื่อ (2015-08-23)   2,414 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 63 นาที)

  เงาเกิดขึ้นได้อย่างไรและเงามีประโยชน์อย่างไร ถามเมื่อ (2017-11-01)   14,246 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 67 นาที)

  การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศในสัตว์เป็นอย่างไร ถามเมื่อ (2017-06-07)   811 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 84 นาที)


 

บ้านเดียวกันดอทคอม เว็บถามตอบ รวมทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีสาระ
www.ban1gun.com