ประเพณีเลี้ยงผีเป็นประเพณีดั้งเดิมของจังหวัดใด  สร้างคำถาม

 1,343 view  หมวดหมู่ : ประเพณีพิธีกรรม  วันที่สร้าง : 24/03/2021

ประเพณีเลี้ยงผีเป็นประเพณีดั้งเดิมของจังหวัดใด

คำถาม: ประเพณีเลี้ยงผีเป็นประเพณีดั้งเดิมของจังหวัดใด
คำตอบ : เลี้ยงผี เป็นประเพณีดั้งเดิมของ จังหวัดลำปาง

ประเพณีเลี้ยงผีเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวเมืองลำปาง โดยจัดให้มีขึ้นระหว่าง เดือน 6 เหนือ จนถึงเดือน 8 ของทุกๆ ปี เพื่อทำพิธีเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อถึงวันทำพิธี
ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและญาติมิตรก็จะนำเครื่องอุปโภคบริโภคไปถวายผีบรรพบุรุษของตน โดยการฟ้อนรำอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า “ผีมด” และ ”ผีเม้ง”
วัตถุประสงค์ในการจัดเลี้ยงผี คือ แสดงให้เห็นถึงการรู้จักตอบแทนผู้มีพระคุณ คือ ปู่ย่าตายาย ทำให้ลูกหลานมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ สร้างความสามัคคีระหว่างเครือญาติพี่น้อง

ลักษณะความเชื่อของการเลี้ยงผี คือ การจัดอาหารคาวหวานไปเซ่นสังเวย ดวงวิญญาณผู้ตาย ณ หิ้งผีปู่ย่าหรือหอผีชาวล้านนาถือว่า เมื่อปู่ ย่า ตา ยาย ตายไปวิญญาณจะวนเวียนมารักษาลูกหลาน
ดังนั้นภายในบ้านของชาวล้านนา จึงจัดทำ"หิ้งผีปู่ย่า" ไว้ทุกบ้าน โดยจัดตั้งไว้ที่สูง นิยมจัดตั้งไว้บนหัวนอนของบ้าน สูงจากพื้นกระดานราว 2 เมตร หิ้งผีปู่ย่านี้ถือว่าเป็นของสูง เด็กๆจะไปเล่นไม่ได้ ผู้อาวุโส
หรือพ่อแม่เท่านั้นที่จะเกี่ยวข้องกับหิ้งปู่ย่าได้ นอกจากนี้ชาวชนบทล้านนาบางแห่ง เชื่อว่า ปู่ย่าตายายที่ตายไปแล้วหลายคนและ เป็นญาติพี่น้องสายเลือดเดียวกัน น่าจะอยู่ร่วมกันได้ จึงคิดสร้าง "หอผี" ขึ้น เพื่อให้ผีอยู่ร่วมกัน

ขั้นตอนการเลี้ยงผี

  • ทำความสะอาดหิ้ง และหอผี

  • บอกกล่าวให้พี่น้องทราบเรื่องการเลี้ยงผี

  • ร่วมกันจัดอาหารเครื่องเซ่นสังเวยผี

  • พิธีกรรมเลี้ยงผี มีรายละเอียดดังนี้

  • การเลี้ยงผี มี 2 อย่างคือ เลี้ยงผีปูย่า และ เลี้ยงผีหอ
    1.เลี้ยงผีปู่ย่า ทำใน "วันพญาวัน" (วันสงกรานต์) หรือวันปีใหม่ ตรงกับวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี โดยเจ้าของบ้าน (อาวุโส) นำสิ่งของขึ้นสังเวยหิ้ง แล้วกล่าวคำสังเวยผี

    2.เลี้ยงผีหอ นิยมทำกัน ระหว่างเดือนสี่ เดือนหก เดือนเจ็ด รายละเอียดการเลี้ยงผีหอดังนี้
    - เหล่าญาติชุมนุมกัน ณ หอผี นำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน คือ ปี่ ขลุ่ย สะล้อ ซอ ซึง บรรเลง เพลงขับกล่อมและร้องเพลงค่าว จ๊อย ซอ ด้วยกัน
    - ผู้อาวุโส หรือ พ่ออาจารย์กล่าวคำเชิญ ผีปู่ย่า (บางแห่งเรียกว่าผู้กล่าวหา "เจ้าด้าม" หรือ "พ่อเจ้าด้าม")
    - ทุกคนที่มาร่วมงานจะเงียบสงบ คอยจ้องมองหอผีรอคอยดูว่า เมื่อใดผีปู่ย่าจะมารับของสังเวย มีข้อสังเกตว่า ถ้ามีผีปู่ย่า มารับเครื่องเซ่นสังเวย ให้ดูเปลวเทียนที่เคลื่อนที่ไหวขึ้นลง หรือแมลงที่ไต่ตอมเครื่องเซ่นสังเวย



    ถ้าชอบบทความนี้ กด Like เลย :ประเพณีเลี้ยงผีเป็นประเพณีดั้งเดิมของจังหวัดใด
    TAGS : ประเพณีภาคเหนือ   เลี้ยงผี   ลำปาง  
     1,343 view  หมวดหมู่ : ประเพณีพิธีกรรม  วันที่สร้าง : 24/03/2021


     ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่




    × แจ้งเตือน! เราสนับสนุนทุกความคิดเห็น ที่ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

    เนื้อหาที่เกี่ยวช้อง

      มูลเหตุแห่งการบวช ทำไมคนเราต้องบวช ถามเมื่อ (2014-05-31)   2,543 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 65 นาที)

      การไหว้แม่ย่านางรถ ถามเมื่อ (2014-10-29)   21,107 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 86 นาที)

      เวลาตกฟาก คืออะไร หญิงตกคว่ำ ชายตกหงาย พิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด ถามเมื่อ (2014-05-31)   3,135 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 161 นาที)

      การตัดสายแฮ่ คืออะไร พิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด ถามเมื่อ (2014-05-31)   2,483 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 392 นาที)

      หน้าที่ผัว หน้าที่เมีย 5 ประการ ตามประเพณีอีสาน ถามเมื่อ (2014-05-31)   2,635 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 412 นาที)

      นาคคืออะไร ทำไมพิธีบวชต้องมีการบวชนาคด้วย ถามเมื่อ (2014-05-31)   2,170 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 467 นาที)

      ประเพณีบูชาอินทขิลของภาคอะไร จังหวัดอะไร ถามเมื่อ (2021-03-23)   1,268 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 637 นาที)

      วันที่ไม่ควรเผาศพ พิธีกรรมงานศพ ถามเมื่อ (2014-05-31)   4,069 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 705 นาที)

      ล้างหน้าศพ ความหมายและ พิธีกรรมงานศพ ถามเมื่อ (2014-05-31)   2,683 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 707 นาที)

      ปอยหลู่กองโหล เป็นประเพณีของจังหวัดอะไร ถามเมื่อ (2021-03-25)   1,536 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 717 นาที)


     

    บ้านเดียวกันดอทคอม เว็บถามตอบ รวมทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีสาระ
    www.ban1gun.com