วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้นของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม  สร้างคำถาม

 2,796 view  หมวดหมู่ : ประเพณีพิธีกรรม  วันที่สร้าง : 27/06/2014

วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้นของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

วิธีปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้น
การเดินจงกรม
ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับข้อมือซ้าย วางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตัวตรง เงยหน้า หลับตา ให้สติจับอยู่ที่ปลายผม กำหนดว่า “ยืนหนอ” ช้า ๆ ๕ ครั้ง เริ่มจากศีรษะลงมาปลายเท้า และจากปลายเท้าขึ้นไปบนศีรษะ กลับขึ้นกลับลงจนครบ ๕ ครั้ง

แต่ละครั้งแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรก คำว่า “ยืน” จิตวาดมโนภาพร่างกาย จากศีรษะลงมาหยุดที่สะดือ คำว่า “หนอ” จากสะดือลงไปปลายเท้า กำหนดคำว่า “ยืน” จากปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ คำว่า “หนอ” จากสะดือขึ้นไปปลายผม กำหนดกลับไปกลับมา จนครบ ๕ ครั้ง ขณะนั้นให้สติอยู่ที่ร่างกาย อย่าให้ออกไปนอกกาย

เสร็จแล้ว ลืมตาขึ้น ก้มหน้าทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๑ ศอก สติจับอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...” กำหนดในใจ คำว่า “ขวา” ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อมกัน “ย่าง” ต้องก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าช้าที่สุดเท้า ยังไม่เหยียบพื้น คำว่า “หนอ” เท้าลงถึงพื้นพร้อมกัน เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดว่า “ซ้าย...” “ย่าง...” “หนอ...” คงปฏิบัติ เช่นเดียวกันกับ “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...”

ระยะก้าวในการเดิน ห่างกันประมาณ ๑ คืบ เป็นอย่างมากเพื่อการทรงตัว ขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ใช้แล้ว ให้นำเท้ามาเคียงกัน เงยหน้าหลับตา กำหนด “ยืนหนอ” ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง ทำความรู้สึกโดยจิต สติ รู้อยู่ตั้งแต่กลางกระหม่อม แล้วกำหนด “ยืนหนอ” ๕ ครั้ง เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมาถึงปลายเท้า เบื้องบนตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมา “ยืนหนอ” ๕ ครั้ง แล้วหลับตา ตั้งตรง ๆ เอาจิตปักไว้ที่กระหม่อม เอาสติตาม ดังนี้ “ยืน.....” (ถึงสะดือ) “หนอ.....” (ถึงปลายเท้า) หลับตาอย่าลืมตา นึกมโนภาพ เอาจิตมอง ไม่ใช่มองเห็นด้วยสายตา “ยืน……” (จากปลายเท้าถึงสะดือ หยุด) แล้วก็ “หนอ…….” ถึงปลายผม คนละครึ่ง พอทำได้แล้ว ภาวนา “ยืน….หนอ....” จากปลายผม ถึงปลายเท้าได้ทันที ไม่ต้องไปหยุดที่สะดือ แล้วคล่องแคล่วว่องไว ถูกต้องเป็นธรรม

ขณะนั้นให้สติอยู่ที่ร่างกายอย่าให้ออกไปนอกกาย เสร็จแล้วลืมตาขึ้น ก้มหน้า ทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๑ ศอก สติจับอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...” กำหนดในใจ

คำว่า “ขวา” ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อม
คำว่า “ย่าง” ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าให้ช้าที่สุด เท้ายังไม่เหยียบพื้น
คำว่า “หนอ” เท้าเหยียบพื้นเต็มฝ่าเท้า อย่าให้ส้นเท้าหลังเปิด

เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดคำว่า “ซ้าย...” “ย่าง...” “หนอ...” คงปฏิบัติเช่นเดียวกับ “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...” ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ ๑ คืบ เป็นอย่างมาก เพื่อการทรงตัวขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ใช้เดินแล้ว พยายามใช้เท้าขวาเป็นหลักคือ “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...” แล้วตามด้วยเท้า “ซ้าย...” “ย่าง...” “หนอ...” จะประกบกันพอดี

แล้วกำหนดว่า “หยุด... หนอ...” จากนั้นเงยหน้า หลับตากำหนด “ยืน... หนอ...” ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง เหมือนกับที่ได้อธิบายมาแล้ว ลืมตา ก้มหน้า ท่ากลับ การกลับกำหนดว่า “กลับหนอ” ๔ ครั้ง คำว่า “กลับหนอ”

ครั้งที่หนึ่ง ยกปลายเท้าขวา ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา ๙๐ องศา
ครั้งที่ ๒ ลากเท้าซ้ายมาติดกับเท้าขวา
ครั้งที่ ๓ ทำเหมือนครั้งที่ ๑
ครั้งที่ ๔ ทำเหมือนครั้งที่ ๒

หากฝึกจนชำนาญแล้วเราสามารถกำหนดให้ละเอียดขึ้น โดยการหมุนตัวจาก ๙๐ องศา เป็น ๔๕ องศา จะเป็นการกลับหนอทั้งหมด ๘ ครั้ง เมื่ออยู่ในท่ากลับหลังแล้วต่อไปกำหนด “ยืน... หนอ...” ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง ลืมตา ก้มหน้า แล้วกำหนดเดินต่อไป กระทำเช่นนี้จนหมดเวลาที่ต้องการ


ถ้าชอบบทความนี้ กด Like เลย :วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้นของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

 2,796 view  หมวดหมู่ : ประเพณีพิธีกรรม  วันที่สร้าง : 27/06/2014


 ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่




× แจ้งเตือน! เราสนับสนุนทุกความคิดเห็น ที่ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

เนื้อหาที่เกี่ยวช้อง

  ประเพณีแห่สลุงหลวงเป็นของจังหวัดอะไร ถามเมื่อ (2021-03-24)   1,265 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 120 นาที)

  การตัดสายแฮ่ คืออะไร พิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด ถามเมื่อ (2014-05-31)   2,499 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 167 นาที)

  ประเพณีเลี้ยงผีเป็นประเพณีดั้งเดิมของจังหวัดใด ถามเมื่อ (2021-03-24)   1,371 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 255 นาที)

  คนที่ไม่ควรให้บวช มีอะไรบ้าง ที่ทำให้ไม่สามารถบวชได้ ถามเมื่อ (2014-05-31)   2,284 views  (ไม่มีคนดู)

  ของสมมาในพิธีแต่งงานมีอะไรบ้าง ประเพณีอีสาน ถามเมื่อ (2014-05-31)   2,435 views  (ไม่มีคนดู)

  เงินใส่ปากศพ ความหมายและ พิธีกรรมงานศพ ถามเมื่อ (2014-05-31)   2,579 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 342 นาที)

  หน้าที่ผัว หน้าที่เมีย 5 ประการ ตามประเพณีอีสาน ถามเมื่อ (2014-05-31)   2,656 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 353 นาที)

  ค่าดอง คืออะไร พิธีแต่งงาน ประเพณีอีสาน ถามเมื่อ (2018-06-30)   11,428 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 384 นาที)

  คําคมโดนๆ คำผญา ทางภาคอีสาน เอาแบบ ม่วนๆ ถามเมื่อ (2014-06-16)   3,423 views  (ไม่มีคนดู)

  การจูงศพ ความหมายและ พิธีกรรมงานศพ ถามเมื่อ (2014-05-31)   2,678 views  (ไม่มีคนดู)


 

บ้านเดียวกันดอทคอม เว็บถามตอบ รวมทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีสาระ
www.ban1gun.com