วิกฤตการณ์ต้มยํากุ้ง คืออะไร  สร้างคำถาม

 5,253 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 17/08/2011

วิกฤตการณ์ต้มยํากุ้ง คืออะไร

วิกฤตต้มยำกุ้ง

หมายถึงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ในยุครัฐบาล พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ จุดแตกหักของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เกิดขึ้นตอนเช้าตรู่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เมื่อรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างทันทีทันใด จากเดิมประมาณ 25.60 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ เป็น 28.75 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง และค่าเงินบาทอ่อนลงตามลำดับ ในช่วงต่ำสุดเคยตกลงถึง 55 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ

วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ นอกจากทำให้ธุรกิจเอกชน เช่น บริษัทบ้านจัดสรร อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง สถาบันการเงิน ธนาคาร ธุรกิจการพิมพ์การโฆษณา ถูกกระทบอย่างรุนแรง หลายแห่งต้องปิดกิจการ หลายแห่งมีหนี้ท่วมตัว พนักงานจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน และรัฐบาลถูกกดดันให้ลาออกแล้ว วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ยังส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศมาเลย์เซีย อินโดนีเซีย เกาหลี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ รัสเซีย และประเทศอื่นๆ มากบ้างน้อยบ้าง

ความพยายามของธนาคารแห่งประเทศไทยในการพยุงค่าเงินบาท ทำให้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศหมดคลังจนต้องขอกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศจำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพยุงฐานะทางการเงินของประเทศ และรัฐบาลไทยจำต้องยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนดขึ้น เช่น งบประมาณแผ่นดินจะต้องตั้งเกินดุล 1 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ภาษี มูลค่าเพิ่มจะต้องเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ เข้าใจกันว่าเกิดจากการดำเนินนโยบายผิดพลาดที่สำคัญ 2 ประการของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่

1) การใช้เงินกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไปช่วยเหลือสถาบันการเงินจนเกิดความเสียหายเกินที่จะเยียวยา และจำต้องปิดบริษัทไฟแนนซ์ 56 แห่ง

2) การสูญเสียเงินสำรองระหว่างประเทศในการปกป้องการโจมตีค่าเงินบาท จนนำไปสู่วิกฤตเงินทุนสำรอง ทำให้เงินบาทขาดเสถียรภาพนับตั้งแต่การตัดสินใจเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตะกร้าเงินมาเป็นระบบลอยตัว

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 สาเหตุ 2 ประการข้างต้นมีที่มาจากการเร่งรัดเปิดระบบวิเทศธนกิจ หรือ BIBF (Bangkok International Banking Facility) เมื่อปี 2536-2537 ทำให้เกิดการก่อหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนจำนวนมหาศาลถึง 70,000 ล้านบาท ในขณะที่ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐถูกตรึงค่าอยู่ที่ 25.60 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่เมื่อปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐสูงถึง 45-50 บาท ต่อดอลล่าร์สหรัฐในช่วงหลังวิกฤตได้ไม่นาน ทำให้หนี้เงินกู้ของบริษัทเอกชนเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว และพากันล้มละลายหรือมีหนี้ท่วมตัว


ถ้าชอบบทความนี้ กด Like เลย :วิกฤตการณ์ต้มยํากุ้ง คืออะไร

 5,253 view  หมวดหมู่ : คำถามทั่วไป  วันที่สร้าง : 17/08/2011


 ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่




× แจ้งเตือน! เราสนับสนุนทุกความคิดเห็น ที่ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

เนื้อหาที่เกี่ยวช้อง

  ราคาเบียร์เดือนมกราคม ถามเมื่อ (2012-01-17)   2,626 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 1 วินาที!!)

  ยาปลูกผมมีจริงมั้ยครับ ถามเมื่อ (2012-05-18)   2,473 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 11 วินาที!!)

  ยานอนหลับที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่าางไร ถามเมื่อ (2011-09-22)   2,352 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 15 วินาที!!)

  info หมายถึงอะไร ถามเมื่อ (2014-10-28)   16,748 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 19 วินาที!!)

  ยาที่ทำให้ขาวเข็มเท่าไรครับ ถามเมื่อ (2012-01-06)   2,343 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 22 วินาที!!)

  หน่วยที่นั่งสอบตำรวจ ถามเมื่อ (2012-04-23)   2,228 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 29 วินาที!!)

  ยางอะไหล่รถยนต์จำนำได้เท่าไหร่ ถามเมื่อ (2016-02-16)   4,526 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 30 วินาที!!)

  ยาSAMBEE รักษาโรคอะไร ถามเมื่อ (2014-09-26)   45,640 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 41 วินาที!!)

  ยอดผ้สมัครสอบตำรวจประทวนเป็นสัญบัตรปี55 ถามเมื่อ (2012-02-04)   2,322 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 51 วินาที!!)

  ยอดผูสมัครตำรวจวุฒิม้ธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า ถามเมื่อ (2012-04-27)   2,308 views  (ดูล่าสุดเมื่อ 55 วินาที!!)


 

บ้านเดียวกันดอทคอม เว็บถามตอบ รวมทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีสาระ
www.ban1gun.com